ข้อมูลท่องเที่ยวจันทบุรี

ข้อมูลท่องเที่ยวจันทบุรี

จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งในดินและในน้ำ มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร โดยเฉพาะการเพาะปลูกผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัด ได้แก่ ทุเรียน เงาะ มังคุด ลางสาด และพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ เช่น พริกไทยและยางพารา ส่วนบริเวณชายฝั่งก็มีทำการประมง จึงเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย อาหารทะเลนานาชนิด และในอีกแง่มุมหนึ่ง จันทบุรีคือศูนย์กลางธุรกิจด้านอัญมณีที่มีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นแหล่งรวมช่างฝีมือในการเจียระไนอัญมณีและ ทำเครื่องประดับต่างๆ ทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง และมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย ทั้งศาสนสถาน โบราณสถาน และโบราณวัตถุ จึงทำให้จันทบุรีเป็นจังหวัดท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศใน ปัจจุบัน

จังหวัดจันทบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 6,338 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,961,250 ไร่ เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 34 ของประเทศ สภาพพื้นที่ทาง ด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออกโดยทั่วไปเป็นป่าไม้ ภูเขา และที่ราบสูง มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 30-190 เมตร เป็นต้นกำเนิดของ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดที่ไหลลงสู่อ่าวไทยทางทิศใต้ ส่วนทางทิศใต้เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งทะเล และบริเวณชายฝั่งมีลักษณะเป็นอ่าว แหลม และหาดทรายจันทบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของภูมิภาค เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ตั้งแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังหลักฐานการค้นพบเครื่องมือ เครื่องใช้ยุคหินขัด อายุประมาณ 2,000 ปี ในเขตอำเภอมะขาม อำเภอท่าใหม่ และที่ราบเชิงเขาที่บ้านคลองบอน อำเภอโป่งน้ำร้อน โดยสันนิษฐานว่าเริ่มมีการตั้งเป็นชุมชนเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงประมาณ พุทธศตวรรษที่ 18 ที่บริเวณหน้าเขาสระบาป โดยชนพื้นเมืองกลุ่มแรก เป็นชนเผ่าในตระกูลมอญ-เขมร หรือเรียกว่า “ชาวชอง” ดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าขาย แต่ปัจจุบันพื้นที่ป่าลดน้อยลงไปมาก เพราะถูกแปรเปลี่ยนไป เป็นพื้นที่ทางการเกษตร และที่ดินส่วนมากถูกจับจองโดยคนไทยและคนจีน อีกทั้งการเก็บของป่ากลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย นายพรานชาวชอง จึงต้องเปลี่ยนวิถี การดำรงชีพไปเป็นแรงงานต่างๆ ในเมือง และมีบางส่วนที่ยังคงยึดอาชีพทำสวนทำนาอยู่ ปัจจุบันชาวชองรวมตัวกัน อยู่ที่บ้านคลองพลู อำเภอเขาคิชฌกูฏในปี พ.ศ. 2200 ได้มีการย้ายเมืองมาอยู่ที่บ้านลุ่ม ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาพ่ายสงคราม และตกเป็น เมืองขึ้นของพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นพระยาวชิรปราการ ก็ได้นำกำลังพลประมาณ 500 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา ทางทิศตะวันออก และจัดตั้งเมืองจันทบุรีเป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและกำลังพลเป็นเวลาถึง 5 เดือน ก่อนนำทัพที่ประกอบด้วย ไพร่พลทั้งชาวไทย และจีนจำนวนราว 5,000 คน กลับไปกอบกู้กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 ซึ่งการมีบทบาท ในการช่วยกอบกู้เอกราช ของชาติในครั้งนั้น นับเป็นเหตุการณ์ที่เป็น ความภาคภูมิใจของชาวจันทบุรี ปัจจุบันจึงมีโบราณสถาน และอนุสรณ์สถานหลายแห่งที่เกี่ยวข้องหรือจัดสร้าง ขึ้นเพื่อเป็น การน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในครั้งนั้นต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ย้าย เมืองจันทบุรีไปตั้งบนพื้นที่สูงที่บ้านเนินวง เพื่อให้เป็นที่มั่นใน การป้องกัน การถูกรุกรานจากชาวญวน จนกระทั่งสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายหัวเมืองจันทบุรีกลับมาตั้งที่บ้านลุ่มตามเดิม เนื่องจากบ้านเนินวงนั้นอยู่ไกลจากแหล่งน้ำในปี พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศฝรั่งเศส ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครอง เมืองจันทบุรีไว้ นานถึง 11 ปี จนไทยต้องยอมยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสไป เพื่อแลกเอาเมืองจันทบุรีกลับคืนมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 มีการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ เมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดมาจนถึงปัจจุบันชื่อเมืองจันทบุรี หรือ “เมืองจันท์” นั้น มีความหมายว่า “เมืองที่สงบร่มเย็น เช่นเดียวกับเมื่ออยู่ใต้แสงจันทร์” โดยมีตราประจำจังหวัดเป็นดวงจันทร์กำลังส่องแสง มีกระต่ายน้อยอยู่ตรงกลาง จังหวัดจันทบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 อำเภอ และ 1 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอท่าใหม่ อำเภอขลุง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอมะขาม อำเภอสอยดาว อำเภอนายายอาม อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอเขาคิชฌกูฏ

ทิปส์ท่องเที่ยว
  • การขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏควรสวมใส่รองเท้าผ้าใบ และไม่ควรพกสิ่งของมีค่าหรือของที่ไม่จำเป็นไป เนื่องจากทางเดินขึ้นเขาสูงชันและมีนักท่องเที่ยวไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงเทศกาล จึงอาจทำให้ไม่สะดวก และควรไปช่วงวันธรรมดาดีกว่าวันเสาร์และอาทิตย์ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก
  • การชมหิ่งห้อยในป่าชายเลนที่บ้านท่าสอน อำเภอขลุง นั้นไม่ต้องลงเรือ เพราะมีถนนคนเดินยาว 2 กิโลเมตรครึ่ง ลดเลี้ยวเข้าไปในป่าชายเลน มีหิ่งห้อยนับแสนตัวเปล่งแสงระยิบระยับตลอดสองข้างทาง มีที่จอดรถกว้างขวางก่อนจะเข้าป่าชายเลน