สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลายที่สุดประเทศหนึ่ง โดยมีทั้งจุดดำน้ำ, หาดทราย, เกาะนับร้อย, สถานบันเทิงที่หลากหลาย, โบราณสถาน, พิพิธภัณฑ์, หมู่บ้านชาวเขา, สวนดอกไม้และจุดชมนกที่ยอดเยี่ยม, พระราชวัง, วัดขนาดใหญ่ และมรดกโลกจำนวนมาก มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่ตามหลักสูตรระหว่าง อยู่ในประเทศไทย สิ่งที่นิยมได้แก่ชั้นเรียนการทำอาหารไทย, พระพุทธศาสนา และการนวดแผนไทย เทศกาลของไทยมีตั้งแต่เทศกาลที่สนุกกับการสาดน้ำอย่างสงกรานต์ ไปจนถึงประเพณีในตำนานอย่างลอยกระทง ท้องถิ่นจำนวนมากในประเทศไทย มีเทศกาลของพวกเขาเองเช่นกัน ที่มีชื่อเสียงได้แก่ "การจัดงานแสดงช้าง" ในจังหวัดสุรินทร์, "ประเพณีบุญบั้งไฟ" ในจังหวัดยโสธร เทศกาลน่าสงสัยอย่าง "ผีตาโขน" ในอำเภอด่านซ้าย. อาหารไทยบางอย่างมีชื่อเสียงทั่วโลก ด้วยการใช้สมุนไพร และเครื่องเทศสด จากส้มตำอร่อยไม่แพง ที่ร้านริมถนนเรียบง่าย ในชนบทถึง อาหารไทยในร้านอาหารชวนชิมของกรุงเทพฯ ยากมากที่จะไม่ได้กินดีในประเทศไทย กรุงเทพมหานครมีชื่อเสียงจากห้างสรรพสินค้าหลักในบริเวณใจกลางเมือง ให้ความหลากหลายของสินค้ายี่ห้อท้องถิ่นและนานาชาติ ไปทางเหนือของเมือง มี"ตลาดนัดจตุจักร" ซึ่งสามารถเดินทางได้สะดวก ด้วยรถไฟฟ้าและใต้ดิน เป็นไปได้ว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขายสินค้าทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์ใช้งานในบ้าน ไปจนถึงสัตว์ชนิดต่างๆ ตลาด "ประตูน้ำ" ใจกลางเมือง เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านผ้าและเสื้อผ้า นักท่องเที่ยวเน้นตลาดกลางคืนในถนนสีลม และบนถนนข้าวสารเป็น หลัก ซึ่งขายสินค้าเช่น เสื้อยืด, หัตถกรรม, นาฬิกาข้อมือและแว่นกันแดด ในบริเวณใกล้เคียงกรุงเทพมหานคร สามารถหาตลาดน้ำยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงเช่นในดำเนินสะดวก "ตลาดถนนคนเดินวันอาทิตย์เย็น" จัดบนถนนราชดำเนินในเมืองเก่า เป็นไฮไลต์ของการช็อปปิ้ง เมื่อไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่ใน ภาคเหนือของประเทศไทย มันดึงดูดคนท้องถิ่นมากมายรวมทั้งชาวต่างประเทศ "ไนท์บาซาร์" ในเชียงใหม่เป็นตลาด ที่นักท่องเที่ยวเน้นเช่นกัน ซึ่งขยายไปหลายช่วงของเมือง แค่ผ่านกำแพงเมืองเก่าไปตามแม่น้ำ

ประเทศไทยมีเนื้อที่ 513,000 ตารางกิโลเมตร หากดูตามแผนที่จะพบว่ามีรูปร่างเหมือนขวานโบราณ ตามการแบ่งขนาดของประเทศทางภูมิศาสตร์การเมือง ไทยจัดเป็นประเทศขนาดใหญ่อันดับที่ 3 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใหญ่เป็นอันดับที่ 51 ของโลก โดยมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักร กัมพูชา ทิศใต้ติดอ่าวไทยและมาเลเซีย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและสหภาพพม่า ทิศเหนือติดสหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ คือ

1.เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ

ทิวเขา ภูเขา และแอ่งแผ่นดินระหว่างเขาทางภาคเหนือ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสายที่ไหลลงแม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำสาละวิน พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำไหลพามาทับถม ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตร

เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาขุนตาน และเทือกเขาเพชรบูรณ์ มียอดเขาที่สูงที่สุดของประเทศคือยอดอินทนนท์ ในจังหวัดเชียงใหม่ สูงประมาณ 2,595 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

2.เขตที่ราบภาคกลาง

เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาแน่นและกว้างขวางที่สุดของไทย มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่อุดมสมบูรณ์ จึงเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ และเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ

3.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภูมิประเทศเขตนี้แยกจากภาคเหนือและภาคกลางอย่างชัดเจน โดยมีขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ เรียกว่าแอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูนไหลผ่าน และไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี

เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก

4.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก

ทิวเขาและหุบเขาของภาคตะวันตกไม่มีที่ราบระหว่างเขาเหมือนภาคเหนือ มีเพียงที่ราบแคบๆ เท่านั้น เทือกเขาสำคัญของเขตนี้ ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี ที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแควน้อย หรือไทรโยค และแม่น้ำแควใหญ่ หรือศรีสวัสดิ์ ซึ่งไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง

5.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ ทิวเขาสลับที่ราบลูกฟูกทางตอนกลาง และที่ราบชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ เทือกเขาสำคัญ คือ เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ระหว่างเทือกเขาจันทบุรีกับอ่าวไทยเป็นพื้นที่ราบแคบๆ มีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับปลูกผลไม้ มีแม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทย ลักษณะชายฝั่งเว้าแหว่งเต็มไปด้วยเกาะแก่ง หาดทรายสวยงาม เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะกูด และเกาะสีชัง

6.เขตภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะต่างๆ ทางภาคใต้

พื้นที่ของภาคใต้เป็นที่ราบสูงบนคาบสมุทรแคบๆ มีที่ราบอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกเป็นแนวขนานกัน โดยมีเทือกเขาสูงเป็นสันอยู่ตรงกลาง เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช มีแม่น้ำสายสั้นๆ เช่น แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตรัง แม่น้ำคีรีรัฐ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำโกลก มีเกาะที่สำคัญทางฝั่งตะวันตก คือ เกาะภูเก็ต ทางฝั่งตะวันออก คือ เกาะสมุยและเกาะพะงัน

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเล ทั้งในภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมความยาวถึงประมาณ2,815กิโลเมตรตามสภาพทางภูมิศาสตร์ สามารถแบ่งทะเลไทยออกได้เป็น3 ส่วน คือ

1. ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือทะเลด้านอ่าวไทยตอนบน ตั้งแต่บริเวณจุดกึ่งกลางระหว่างปากแม่น้ำท่าจีนกับ แม่น้ำเจ้าพระยา เลียบไปทางตะวันออกจนจดเขตแดนราชอาณาจักรกัมพูชา ที่แหลมสารพัดพิษ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด รวมความยาวประมาณ544กิโลเมตร

2. ชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทิศตะวันออก หรือฝั่งอ่าวไทย เริ่มจากจุดกึ่งกลางระหว่างปากแม่น้ำท่าจีนกับแม่ น้ำเจ้าพระยา เรื่อยไปทางทิศตะวันตกและทิศใต้ จนจดเขตแดนมาเลเซีย ที่ปากแม่น้ำสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมความยาว ประมาณ 1,334 กิโลเมตร

3. ชายฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทิศตะวันตก หรือ ฝั่งทะเลอันดามัน ในมหาสมุทรอินเดีย นับตั้งแต่ปากน้ำกระบุรี จังหวัดระนอง ซึ่งจดกับเขตแดนของสหภาพพม่า เรื่อยไปทางใต้จนถึงเขตแดนของมาเลเซียที่จังหวัดสตูล ซึ่งอยู่ในช่องแคบมะละกา รวมความยาว ประมาณ 937 กิโลเมตร

ทั้ง 3 เขตทะเลของไทยมีไหล่ทวีปกว้างรวมกันประมาณ350,000 ตาราง กิโลเมตร และมีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก มีธรรมชาติงดงามให้เดินทางท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยช่วงเวลาที่ปราศจากลมมรสุม และเหมาะสำหรับท่องเที่ยวทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตก หรือฝั่งอันดามัน และทะเลอ่าวไทย ในภาคตะวันออก เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ส่วนทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก หรือฝั่งอ่าวไทย เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก มีเกาะที่สำคัญ คือ เกาะสีชัง เกาะล้าน เกาะเสม็ด หมู่เกาะมัน และเกาะช้าง มีแหล่งท่องเที่ยวตามแนวชายฝั่งที่เป็นที่นิยม เช่น หาดบางแสน หาดพัทยา จังหวัดชลบุรี และหาดแม่รำพึง จังหวัดระยอง เป็นต้น ส่วนหมู่เกาะสำคัญของฝั่งทะเลภาคใต้ด้านอ่าวไทย ประกอบด้วยเกาะเต่า เกาะสมุย หมู่เกาะอ่างทอง และเกาะพะงัน เป็นต้น

สำหรับเกาะที่สำคัญของฝั่งทะเลภาคใต้ด้านทะเลอันดามัน ประกอบด้วยเกาะภูเก็ต หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ เกาะลันตา เกาะยาว เกาะพระทอง หมู่เกาะพีพี และหมู่เกาะตะรุเตา เป็นต้น

ชายฝั่งทะเลทั้งสองฝั่งของไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ด้วยอุณหภูมิของน้ำทะเลประมาณ26-31 องศา เซลเซียส และ มีค่าความเค็มของน้ำทะเลอยู่ในระดับที่เหมาะกับการเจริญ เติบโตของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ทะเลไทยจึงนับเป็นท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก

อุทยานแห่งชาติในประเทศไทยสามารถแยกได้เป็น2 ประเภท คือ อุทยานแห่งชาติทางบกและอุทยานแห่งชาติทางทะเล รวมจำนวนอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว มีทั้งหมด 102 แห่ง เป็นพื้นที่ประมาณ 32.67 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 10.21 ของพื้นที่ประเทศ แบ่งเป็นอุทยานแห่งชาติในเขตภาคเหนือ จำนวน 33 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 20 แห่ง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกจำนวน 16 แห่ง และภาคใต้จำนวน 33 แห่ง