ข้อมูลท่องเที่ยวสิงห์บุรี

ข้อมูลท่องเที่ยวสิงห์บุรี

ถิ่นวีรชนคนกล้า คู่หล้าพระนอน นามกระฉ่อนปลาแม่ลา ย่านการค้าภาคกลาง

จังหวัดสิงห์บุรีตั้งอยู่ในเขตภาคกลางตอนบน ริมฝั่งด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์ อันยาวนาน โดดเด่นและยิ่งใหญ่ด้วยเรื่องราววีรกรรมการสู้รบของชาวบ้านบางระจัน แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญต่างๆ จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์และศาสนา

จังหวัดสิงห์บุรีมีเนื้อที่ประมาณ 822.478 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 514,049 ไร่ จัดเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 73 ของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนริมแม่น้ำจำนวนมากเป็นเวลานาน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะแก่การทำกสิกรรม มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำลพบุรี นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสายอื่นๆ คือ ลำแม่ลา ลำการ้อง ลำเชียงราก และลำโพธิ์ชัยสันนิษฐานว่าสิงห์บุรีสร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 1650 โดยพระเจ้าไกรสรราช โอรสของพระเจ้าพรหม หรือพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฏก ผู้ครองเมืองชัยปราการ เมื่อครั้งเสด็จพาไพร่พลมาครองเมืองลพบุรีตามรับสั่งพระราชบิดา ได้ทรงล่องเรือมาตามแม่น้ำ แล้วแวะพักขึ้นบก ณ จุดที่เป็นที่ตั้งเมืองสิงห์บุรีเดิม คือ บริเวณริมฝั่งลำน้ำจักรสีห์ ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสิงห์บุรี ในปัจจุบันเมื่อถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวปี พ.ศ. 2437 ได้มีการจัดรูปแบบการปกครองเมืองระบอบมณฑลเทศาภิบาลใหม่ จึงได้มีการจัดตั้งมณฑลกรุงเก่า (มณฑลอยุธยา) ขึ้น ประกอบด้วยเมือง 8 เมือง คือ กรุงเก่าพระพุทธบาท พรหมบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง และอินทร์บุรี ต่อมาในราวปี พ.ศ. 2438 เมืองสิงห์บุรีถูกจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัด และมีการยุบเมืองพรหมบุรีและเมืองอินทร์บุรีลงเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดสิงห์บุรี พร้อมกับตั้งเมืองสิงห์บุรีขึ้นใหม่ที่ตำบลบางพุทรา ส่วนเมืองสิงห์บุรีเดิมยุบเป็นอำเภอสิงห์ และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบางระจัน จนถึงปัจจุบันเรื่องราวสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ทำให้จังหวัดสิงห์บุรีเป็น ที่รู้จักมากยิ่งขึ้น คือ วีกรรมของชาวบ้านบางระจัน เมื่อครั้งที่พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในสมัยของสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 หรือสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ จนต้องสูญเสียเอกราชไปในปี พ.ศ. 2310 ในครั้งนั้น ชาวบ้านบางระจันสามารถยืนหยัดต่อสู้กับกองทัพพม่าที่เดินทัพผ่านมาถึงบ้าน บางระจันได้อย่างหาญกล้า เป็นเวลานานถึง 5 เดือน โดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกรุงศรีอยุธยาเลย จึงนับเป็นวีรกรรมอันน่ายกย่องเชิดชูครั้งหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบัน ทางจังหวัดสิงห์บุรีได้ตั้งชื่อถนนต่างๆ ในตัวเมืองตามชื่อของวีรชนบ้านบางระจัน เช่น ถนนนายแท่น ถนนนายดอก ถนนนายอิน ถนนนายเมือง และถนนขุนสรรค์ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติแก่เหล่าวีรชนชาวบ้านบางระจันในอดีตปัจจุบันจังหวัด สิงห์บุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอบางระจัน อำเภอค่ายบางระจัน อำเภอพรหมบุรี อำเภอท่าช้าง และอำเภออินทร์บุรี