หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

ข้อมูลหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

โครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 โดยกลุ่มศิลปินร่วมสมัยแห่งประเทศไทยนับพันคนได้จัดแสดงผลงานที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยหวังให้สังคมเห็นว่า มีศิลปินมากพอที่ควรจะมี หอศิลป์ มาเป็นพื้นที่รองรับในการแสดงออกผลงาน และเก็บรักษาผลงานในอดีต และประวัติศาสตร์ เป็นที่รวมกลุ่มศิลปิน เพื่อพบปะ แลกเปลี่ยนความคิด แนวการทำงาน ผลก็คือการผลักดันให้เกิดการพัฒนาของวงการศิลปะในบ้านเมืองนี้

สมัยของ ดร.พิจิตต รัตตกุลได้รับตำแหน่งเป็นผู้ว่า กทม. มีการผลักดันจนกระทั่ง กทม. มีนโยบายที่จะสร้างหอศิลป์ขึ้น มีการกำหนดพื้นที่ตั้ง หอศิลป์ที่บริเวณ สี่แยกปทุมวัน และผู้ชนะจากการประกวดแบบหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริษัท Robert G. Boughey & Associates (RGB Architects) ความพร้อมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2539 แต่ในสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่า กทม. คนต่อมา โครงการหอศิลป์กรุงเทพมหานคร ถูกรื้อถอนโครงการ ความคืบหน้าเดิมทิ้งทั้งหมด โดยเปลี่ยนเป็นพื้นที่การค้าตามรูปแบบการใช้พื้นที่แถบนั้น และมีส่วนแสดงศิลปะไว้เล็กน้อย ซึ่งบรรดาศิลปินและคนทำงานศิลปะในหลายแขนงต่างไม่พอใจในการยุบโครงการนี้เป็นอย่างมาก และได้เคลื่อนไหวเรียกร้องมาตลอดสมัยของนายสมัคร สุนทรเวช

จากการเคลื่อนไหวเรียกร้องต่อสู้เพื่อให้มีหอศิลป์โดยเครือข่ายประชาชนและกลุ่มศิลปินที่ยาวนาน จนกระทั่งกรุงเทพมหานคร โดยผู้ว่าราชการฯ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้เล็งเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม และได้วางนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นนโยบายหลัก โดยมุ่งเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ของเด็ก เยาวชน และประชาชนในสังคม ให้ตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม สภาแห่งกรุงเทพมหานครจึงได้อนุมัติงบประมาณ ดำเนินการก่อสร้าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 509 ล้านบาท[1] เพื่อผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม ซึ่งหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร (Bangkok Art and Culture Centre) ได้เริ่มก่อสร้างในที่ดินของกรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกปทุมวัน และได้มีการเปิดโครงการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการ เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2548

ในกำหนดการเดิม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จะสร้างเสร็จช่วงปลายปี 2549 แต่การก่อสร้างได้ล่าช้าออกไปจากเดิม แล้วเสร็จเปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2551 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดหอศิลปฯ ประติมากรรมช้างเอราวัณ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ชุด "บารมีแห่งแผ่นดิน" และนิทรรศการโขนพรหมมาศ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปี นับตั้งแต่การเปิดโครงการหอศิลปฯ แห่งนี้อีกด้วย

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

ตัวอาคารสูง 9 ชั้น (บวกอีก 2 ชั้นใต้ดิน) โดยในตัวอาคารถูกออกแบบมาให้เป็นทรงกระบอก ซึ่งสามารถเชื่อมต่อระหว่างอาคารได้ด้วยทางเดินวนเป็น แนวเอียงขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้คนที่เข้ามาชมผลงาน สามารถชมได้ต่อเนื่องในแต่ละชั้น นอกจากนี้ตัวอาคารยังออกแบบมาให้สามารถรับแสงสว่าง จากภายนอกได้ โดยที่แสงไม่แรงพอจะที่เข้ามาถึงขนาดทำลายผลงานศิลปะที่แสดงอยู่ข้างในได้ แบ่งออกเป็น 10 ชั้นของพื้นที่ส่วนจัดแสดง เริ่มตั้งแต่ชั้นใต้ดิน ไปสุดที่ชั้น 9 ของตัวอาคาร ซึ่งได้แบ่งพื้นที่การจัดแสดงต่างๆ ไว้ดังนี้

- ห้องสมุดศิลปะ ชั้น L มีหนังสือและแหล่งความรู้ด้านศิลปะไว้บริการมากกว่า 6,000 รายการ และเขายังมีบริการอินเตอร์เน็ทและมุมศิลปะสำหรับเด็กอีกด้วย

- ห้องเอนกประสงค์ ชั้น 1 ที่มีทางเดินเชื่อมต่อกับโถงใหญ่ ห้องนี้ไว้สำหรับงานจัดเลี้ยง งานแถลงข่าว การประชุม บรรยายต่างๆ

- โซนร้านค้า 34 คูหา บริเวณชั้น 1-4 ไว้จับจ่ายใช้สอย พักผ่อนหย่อนใจ สามารถซื้อสินค้าด้านศิลปวัฒนธรรมมากมาย ทั้งสินค้าทำมือ พ้อกเก็ตบุ้ค และมี่ที่นั่งื่มเครื่องดื่มเย็นๆ ให้สบายๆกับเพื่อนๆ มีบริการสเก็ตช์ self-portriat โดยอาร์ตติสตัวจริงกันด้วย

- ห้องสตูดิโอ บริเวณชั้น 4 เป็นพื้นที่อิสระสำหรับกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะงานดนตรี ละคร หรือกิจกรรมแนวทดลองทางศิลปะ ศิลปะการแสดงสด ตลอดจนกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ มากมาย

- ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 เป็นห้องขนาด 222 ที่นั่ง ใช้สำหรับการประชุมสัมมนา แสดงละคร ดนตรี ตลอดจนฉายภาพยนต์โน่นเลยทีเดียวบริเวณกำแพงกระจก เขายังจัดบริการโต๊ะเก้าอี้เอาไว้ให้มานั่งทำการบ้านได้อีกด้วย ซึ่งบรรดาวัยรุ่นมักจะชื่นชอบบริเวณนี้เป็นพิเศษ เพราะให้ความรู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย จากกำแพงกระจกขนาดใหญ่

- ห้องประชุม ชั้น 4 - 5 ทั้งหมด 4 ห้อง สำหรับสัมมนา ประชุม บรรยาย workshop ต่างๆ จุคนได้ 10 - 40 คน

- ส่วนสุดท้ายคือพื้นที่แสดงศิลปะ จัดแสดงทัศนศิลป์ ของชั้น 7 - 9 บนพื้นที่กว่า 3,000 ตารางเมตร ซึ่งจะมีงานนิทรรศการ งานศิลปะมากมายมาจัดแสดงให้้ชมกันตลอดทั้งปี


It's alive!

แผนที่หอศิลปวัฒนธรรม

บริเวณสี่แยกปทุมวัน หัวมุมถนนพระรามที่ 1 และถนนพญาไทตรงข้ามมาบุญครอง และ สยามดิสคัฟเวอรี่, มีทางเดินเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สนามกีฬาแห่งชาติ

กำลังโหลดแผนที่...