สถานที่ท่องเที่ยวในนครราชสีมา

สถานที่ท่องเที่ยวนครราชสีมา

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวนครราชสีมา

อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นอนุสรณ์แด่วีรกรรมอันกล้าหาญของวีรสตรีไทย หรือย่าโม ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากโดยทั่วไป สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2476 ตั้งอยู่กลางเมือง ชาวต่างถิ่นที่แวะมาเยือนและชาวเมืองโคราชนิยมมาสักการะและขอพรจากย่าโมอยู่เสมอ อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่บนฐานไพทีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่า คุณหญิงโม เป็นภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทร์ ได้ยกทัพเข้ายึดเมืองโคราช คุณหญิงโมได้รวบรวมชาวบ้านเข้าสู้รบและต่อต้าน กองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ไม่ให้ยกมาตีกรุงเทพฯได้เป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี ประชาชนพร้อมใจกันจัดงานเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารีขึ้น ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีของท่าน
ประตูชุมพล ตั้งอยู่ด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่านเมื่อ พ.ศ. 2199 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา และสร้างกำแพงประตูเมืองอย่างแข็งแรง โดยมีช่างชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมิตรประเทศกับกรุงศรีอยุธยาในขณะนั้น เป็นผู้ออกแบบผังเมือง เมืองนครราชสีมาในขณะนั้นมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1,000 x 1,700 เมตร เดิมมีประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตู ได้แก่ ประตูพลแสนด้านทิศเหนือ ประตูพลล้านด้านทิศตะวันออก ประตูไชยณรงค์ด้านทิศใต้ และประตูชุมพลด้านทิศตะวันตก ปัจจุบันเหลือเพียงประตูชุมพลเท่านั้นที่เป็นประตูเมืองเก่า ส่วนอีกสามประตูได้สร้างขึ้นใหม่ ลักษณะประตูชุมพลเป็นประตูเชิงเทิน ก่อด้วยหินก้อนใหญ่และอิฐ ฉาบด้วยปูน ส่วนบนเป็นหอรบสร้างด้วยไม้แก่นหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้า กระจังและนาคสะดุ้ง กำแพงต่อจากประตูทั้งสองข้างก่อด้วยอิฐ ส่วนบนสุดทำเป็นรูปใบเสมา
ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ที่หัวมุมสี่แยกถนนจอมพลตัดกับถนนประจักษ์ ลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีน ประดิษฐานเสาหลักเมืองนครราชสีมา เป็นที่สักการะบูชาของชาวไทยและจีน สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่าง พ.ศ. 2199-2231 ตัวศาลและเสาหลักเมืองทำด้วยไม้ ผนังศาลด้านทิศตะวันออกเป็นกระเบื้องดินเผาปั้นลวดลายนูนต่ำ เป็นเรื่องราวการสู้รบของท้าวสุรนารีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณ
ศาลเจ้าพ่อช้างเผือก เป็นศาลเจ้าเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมคูเมืองด้านทิศเหนือ ตรงมุมถนนมนัสตัดกับถนนพล-แสน สร้างครอบหลักตะเคียนหินซึ่งเดิมเป็นหลักที่ชาวเมืองภูเขียวนำช้างเผือกมาผูกไว้เพื่อให้พนักงานกรมคช-บาลตรวจดูลักษณะช้างก่อนกราบทูลถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เพื่อทรงรับไว้เป็นพระราชพาหนะ
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมสถาบันราชภัฏนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่ถนนสุรนารายณ์ เมื่อผ่านเข้ามาในบริเวณสถาบันราชภัฏให้แยกซ้ายตามป้ายจะพบเรือนไม้สองชั้นและเรือนโคราช อันเป็นสถานที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูล สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ รวมทั้งวัตถุโบราณ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาข้อมูล ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโคราชและชาวอีสานทั่วไปในอดีต การจัดแสดงแบ่งเป็นห้องตามหัวข้อ อาทิ เมืองโคราช เอกสารโบราณ อาชีพพื้นบ้าน ผ้าอีสาน ของดีโคราช ดนตรี คนดีศรีโคราช เป็นต้น เปิดให้เข้าชมในวันและเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 44 24 6341 ต่อ 1216
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสุทธจินดา ตรงข้ามศาลากลางจังหวัด จัดแสดงศิลปวัตถุทั้งที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดารวบรวมไว้ โบราณวัตถุที่กรมศิลปากรได้สำรวจขุดพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียงและที่มีผู้บริจาค ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูป มีทั้งพระศิลาสมัยขอม พระพุทธรูปสมัยอยุธยา พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ เครื่องเคลือบดินเผา เครื่องใช้สมัยโบราณ ภาพไม้แกะสลัก เปิดให้เข้าชมระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. ในวันพุธถึงวันอาทิตย์ ปิดวันจันทร์ วันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย 5 บาท ชาวต่างประเทศ 10 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 4424 2958
วัดศาลาลอย ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง โดยแยกจากถนนรอบเมืองไปประมาณ 500 เมตร วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับลำตะคองซึ่งไหลพาดผ่านตอนเหนือของตัวเมืองไปลงสู่แม่น้ำมูล ท้าวสุรนารีกับท่านปลัดสามีสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2370 จุดเด่นของวัดอยู่ที่พระอุโบสถซึ่งได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ในปี พ.ศ. 2516 เป็นอุโบสถที่สร้างแบบศิลปไทยประยุกต์ เป็นรูปสำเภาโต้คลื่น ใช้วัสดุพื้นเมืองคือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนนำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก (13 กัณฑ์) ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร หน้าประตูอุโบสถมีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี
วัดศาลาทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง
วัดป่าสาลวัน ตั้งอยู่ในตัวเมือง หลังสถานีรถไฟนครราชสีมา เป็นวัดหนึ่งที่ได้เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิธาตุของเกจิอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชาของศาสนิกชนโดยทั่วไป คือ อาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น รวมทั้งอัฐิของอาจารย์สิงห์ อดีตเจ้าอาวาสที่ได้บุกเบิกสร้างวัดแห่งนี้
อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12.5 กิโลเมตร อยู่ทางด้านซ้ายมือตามเส้นทางสายนครราชสีมา-ชัยภูมิ ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2529 อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์สูง 175 เซนติเมตร สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือและเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมาที่ได้พลีชีพเพื่อปกป้องชาติเมื่อครั้งสงครามเจ้าอนุวงศ์ ปี พ.ศ. 2369 ที่ทุ่งสัมฤทธิ์ ด้วยการใช้ดุ้นฟืนติดไฟโยนเข้าใส่กองเกวียนดินดำของกองทัพลาวจนระเบิดเสียหายหมดสิ้นและตัวนางได้สิ้นชีวิตในการสู้รบในครั้งนั้น
ปราสาทพนมวัน ตั้งอยู่ที่บ้านมะค่า ตำบลโพธิ์ จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ประมาณ 15 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางด้านขวามือ แยกเข้าไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นปราสาทขอมที่น่าชมอีกแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าเดิมก่อสร้างด้วยอิฐในราวพุทธศตวรรษที่ 15 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18–19 จึงได้สร้างอาคารหินซ้อนทับลงไป จากจารึกที่ค้นพบ เรียกปราสาทแห่งนี้ว่า“เทวาศรม” เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นพุทธสถาน ปัจจุบันแม้จะหักพังไปมาก แต่ยังคงเห็นซากโบราณสถานหลงเหลือเป็นเค้าโครงค่อนข้างชัดเจนเช่น ปรางค์จตุรมุของค์ประธานหลักซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกโดยมีมณฑปอยู่เบื้องหน้าและมีฉนวน (ทางเดิน) เชื่อมต่อระหว่างอาคารทั้งสอง ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า “ปรางค์น้อย” ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมีระเบียงคตสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ มีโคปุระ (ประตูทางเข้าเทวสถาน) ก่อสร้างเป็นรูปหอสูงทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบนอกปราสาททางด้านทิศตะวันออกห่างจากโบราณสถานเกือบ 300 เมตร มีร่องรอยของคูน้ำและเนินดินเรียกว่า “เนินอรพิม” นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงจัดเรียงเป็นแนวคล้ายซากฐานอาคารบนเนินแห่งนี้ด้วย
สวนสัตว์นครราชสีมา อยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 304(นครราชสีมา-ปักธงชัย) ระยะทาง 18 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 (ทางหลวงหมายเลข 2310) อีกประมาณ 1 กิโลเมตร หากเดินทางรถโดยสารจากตัวเมืองสามารถใช้บริการรถปรับอากาศสาย 1415 (สุรนารี-สวนสัตว์)
สวนสัตว์นครราชสีมามีพื้นที่กว้างขวางถึง 545 ไร่ เป็นสวนสัตว์แบบซาฟารีกึ่งเปิดและปิดที่ทันสมัยได้มาตรฐานที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย คอกสัตว์กว้างขวาง จัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับนิสัยสัตว์แต่ละชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ป่าแอฟริกา ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกเพนกวิน แมวน้ำ ช้างแอฟริกา แรด เสือชีต้าห์ สิงโต ม้าลาย ยีราฟ เป็นต้น และยังมีอาคารจัดแสดงสัตว์เลื้อยคลาน และสวนนกเงือก จึงเหมาะแก่การทัศนศึกษาเรียนรู้ชีวิตสัตว์และพักผ่อนหย่อนใจ ภายในสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม มีบริการรถพ่วงวิ่งรอบบริเวณ รวมทั้งจักรยานให้เช่าอีกด้วย เปิดให้เข้าชมทุกวันระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. อัตราค่าเข้าชม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 30 บาท นักเรียน 5 บาท รถ 4 ล้อ 30 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4435 7355 หรือ website: www.zoothailand.org
อุทยานไม้กลายเป็นหิน ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลสุรนารี การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-ปักธงชัย) ระยะทาง 19 กิโลเมตร แยกขวาเข้าไปทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (ประตูที่ 2) อีก 3 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าถนนเลี่ยงเมืองสายมิตรภาพ-หนองปลิงอีก 2 กิโลเมตรถึงวัดโกรกเดือนห้าซึ่งปัจจุบันเป็นที่เก็บไม้กลายเป็นหินซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากกว่าหมื่นชิ้น ในบริเวณนี้มีการขุดพบเศษไม้ ท่อนไม้กลายเป็นหินตั้งแต่ระดับผิวดินถึงระดับความลึก 8 เมตร มีขนาดต่างๆ กัน ตั้งแต่ขนาดกรวดจนถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 50 เซนติเมตร และบางชิ้นมีความยาวมากกว่า 1 เมตร มีสีสันหลากหลาย ทั้งในก้อนเดียวจนถึงต่างก้อนกัน มีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 1 ถึง 70 ล้านปี จังหวัดนครราชสีมามีโครงการจัดสร้างเป็นอุทยานไม้กลายเป็นหินและพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของเอเชีย เพื่อเป็นการอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์นี้ไว้ให้เป็นมรดกให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ตลาดกลางไม้ดอกไม้ประดับโคกกรวด อยู่ที่ ต.โคกกรวด จากตัวเมืองนครราชสีมาใช้เส้นทางนครราชสีมา – กรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าเส้นทางโคกกรวด – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อีก 500 เมตร เป็นศูนย์รวมไม้ดอกไม้ประดับแหล่งใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัวเมืองที่สุด

อำเภอปากช่อง
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 2,168 ตารางกิโลเมตรในเทือกเขาพนมดงรัก ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา นครนายก สระบุรี และปราจีนบุรี ป่าเขาใหญ่สมัยก่อนได้รับสมญานามว่า ดงพญาไฟ ที่ทั้งโหดทั้งดิบสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางผ่านป่าผืนใหญ่ที่กั้นแบ่งเขตภาคกลางและภาคอีสาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2465 ได้มีชาวบ้านประมาณ 30 ครัวเรือนไปตั้งหลักแหล่ง ถางป่าทำนาทำไร่ สันนิษฐานว่าเป็นพวกที่หลบหนีคดีมา ต่อมาพื้นที่เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2505 และได้รับสมญาว่าเป็นอุทยานมรดกของอาเซียน
สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น บางส่วนของพื้นที่เป็นทุ่งกว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้ที่มีคุณค่ามากมายทั้งไม้เศรษฐกิจ ไม้หอม และสมุนไพรต่าง ๆ ภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อนประกอบด้วย เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด 1,351 เมตรและยอดเขาอื่น ๆ ที่สำคัญมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800-1,300 เมตร ได้แก่ เขาแหลม เขาเขียว เขาสามยอด เขาฟ้าผ่าสูง เขากำแพง เขาสมอปูนและเขาแก้ว ด้านทิศใต้และทิศตะวันตกเป็นที่สูงชัน ส่วนทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกพื้นที่ลาดลง
จากระดับความสูงของพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดิบ ทำให้เขาใหญ่มีอากาศเย็นสบายแม้ในฤดูร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวราวเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเขาใหญ่มากที่สุด ส่วนในช่วงฤดูฝน สภาพธรรมชาติบนเขาใหญ่ชุ่มช่ำ ป่าไม้และทุ่งหญ้าเขียวขจีสดใส น้ำตกทุกแห่งไหลแรงเสียงดังก้องป่าให้ชีวิตชีวาแก่ผู้ไปเยือนแม้การเดินทางจะค่อนข้างลำบาก แต่จำนวนนักท่องเที่ยวก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย
ป่าเขาใหญ่มีไม้มีค่าและพืชสมุนไพรนานาชนิดที่สมควรได้รับการดูแลอนุรักษ์ไว้ พันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น ไทร ซึ่งได้รับสมญานามว่า “นักบุญแห่งป่า นักฆ่าแห่งพงไพร” ผลของไทรเป็นอาหารให้สัตว์ป่าหลายชนิดรวมทั้งนกเงือก แต่ในขณะเดียวกันไทรก็เป็นต้นไม้ที่ต้องอิงอาศัยต้นไม้อื่นในการเจริญเติบโต จึงไปแย่งน้ำและอาหารทำให้ต้นไม้นั้นค่อยๆตายไปในที่สุด เตยน้ำ เป็นไม้เลื้อยที่มีกลิ่นคล้ายตะไคร้ภายในมีท่อลำเลียงน้ำขนาดใหญ่สามารถนำมาดื่มได้ สุรามริด ใช้ดองเหล้าแก้ปวดหลังปวดเอว กะเพราต้น เป็นไม้ใหญ่ยืนต้น แก้เจ็บท้องขับลม เงาะป่า ผลมีขนแข็งสีเหลืองแต่รับประทานไม่ได้ และ กฤษณา ไม้ซึ่งสามารถสกัดเปลือกไปทำเครื่องหอมได้ เป็นต้น
สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นบ่อยได้แก่ เก้ง กวาง ตามทุ่งหญ้า นอกจากนี้ยังอาจพบช้างป่า หมีควาย หมูป่า ชะนี เม่น พญากระรอก หมาใน ชะมด อีเห็น กระต่ายป่า รวมทั้งเสือโคร่ง กระทิงและเลียงผาซึ่งก็มีถิ่นอาศัยอยู่ที่เขาใหญ่เช่นกัน อุทยานฯได้สร้างหอสูงสำหรับส่องดูสัตว์อยู่สองจุด คือ บริเวณมอสิงโตและหนองผักชี อนุญาตให้ขึ้นไประหว่างเวลา 8.00-18.00 น. บริเวณที่ตั้งหอดูสัตว์เป็นทุ่งหญ้าซึ่งเจ้าหน้าที่อุทยานฯจะเผาทุกปีเพื่อให้เกิดหญ้าอ่อน หรือหญ้าระบัดขึ้นสำหรับเป็นอาหารสัตว์ และยังมีโป่งดินเค็มที่เป็นแหล่งเกลือแร่ของสัตว์ต่าง ๆ อยู่ด้วย นักท่องเที่ยวที่ต้องการนั่งรถส่องสัตว์ในเวลากลางคืนสามารถติดต่อที่ทำการอุทยานฯ ก่อนเวลา 18.00 น.
เขาใหญ่ยังเหมาะเป็นที่ดูนกและผีเสื้อ จากการสำรวจ พบนกจำนวนไม่น้อยกว่า 293 ชนิด และมีอยู่ 200 ชนิด ที่พบว่าอาศัยป่าเขาใหญ่เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยอย่างถาวร นกที่น่าสนใจได้แก่ นกเงือกซึ่งถือเป็นตัวบ่งชี้ว่าป่านั้นยังคงความอุดมสมบูรณ์ ที่พบบนเขาใหญ่มีอยู่ 4 ชนิด นอกจากนั้นยังมีนกที่พบเห็นได้บ่อย ได้แก่ นกขุนทอง นกขุนแผน นกพญาไฟ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกเขา นกกระปูด ไก่ฟ้า และนกกินแมลงชนิดต่างๆ ส่วนแมลงที่สวยงามและพบเห็นมากคือ ผีเสื้อซึ่งมีอยู่ประมาณ 5,000 ชนิด
การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ มีเส้นทางให้เลือกกว่า 20 เส้นทาง ที่ต่างกันทั้งความงามของธรรมชาติ และระยะทาง ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินป่า ซึ่งมีตั้งแต่ 1-2 ชั่วโมง เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติกองแก้ว เส้นทาง กม.33 (ถนนธนะรัชต์-หนองผักชี) หรือที่ต้องเข้าไปพักค้างแรมในป่า เช่น เส้นทางน้ำตกนางรอง-เขาใหญ่ เส้นทางเขาสมอปูน หรือเส้นทางหน่วยฯ ขย.4-น้ำตกวังเหว เป็นต้น โดยสามารถติดต่อขอรายละเอียดและเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
สถานที่น่าสนใจ ในเขตอุทยาน
น้ำตกกองแก้ว เป็นน้ำตกเตี้ย ๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคองซึ่งเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดนครนายก และนครราชสีมา ในฤดูฝนดูสวยงามมาก เหมาะแก่การเล่นน้ำ สามารถเข้าถึงได้โดยการเดินเท้าจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 100 เมตร มีสะพานเชือกทอดข้ามลำน้ำให้บรรยากาศการพักผ่อนที่กลมกลืนและบริเวณใกล้ๆ ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเส้นสั้นๆ
น้ำตกผากล้วยไม้ เป็นน้ำตกขนาดกลางในห้วยลำตะคองเช่นเดียวกัน ห่างจากที่ทำการฯประมาณ 7 กิโลเมตร สามารถเข้าถึงโดยทางรถยนต์และทางเดินเท้า บริเวณน้ำตกมีกล้วยไม้หวายแดงขึ้นอยู่ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของน้ำตกแห่งนี้และเป็นน้ำตกที่สายน้ำสองสายไหลผ่านชั้นหินทีละชั้นมาบรรจบกันจากน้ำตกผากล้วยไม้ มีทางเดินไปน้ำตกเหวสุวัตได้
น้ำตกเหวสุวัต เป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป ตั้งอยู่สุดถนน ธนะรัชต์ รถเข้าถึง จากลานจอดรถเดินลงไปเพียง 100 เมตร หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไปประมาณ 3 กิโลเมตรก็ได้ สายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงราว 20 เมตร มีจุดชมน้ำตกในระยะไกลที่สามารถมองผ่านแมกไม้เห็นภาพของน้ำตกทั้งหมดในมุมสูงได้สวยงาม หรือหากต้องการสัมผัสกับสายน้ำตกและแอ่งน้ำด้านล่าง ก็มีทางเดินลัดเลาะลงไปได้ แต่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะมาก ไหลแรง และเย็นจัดควรระมัดระวังอันตราย
น้ำตกเหวไทร-เหวประทุน จากน้ำตกเหวสุวัตมีป้ายบอกทางเดินต่อไปยังน้ำตกสองแห่งนี้ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก เป็นสายน้ำที่เชื่อมต่อกับเหวสุวัต ทางลงสู่น้ำตกชันมากและลื่นโดยเฉพาะหลังฝนตก บรรยากาศโดยรอบร่มรื่นมาก หากเดินไปอย่างเงียบๆ ระหว่างทาง อาจได้พบกับสัตว์เล็กๆ เช่น นก กระรอก
น้ำตกเหวนรก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสูงที่สุดของอุทยานฯ อยู่ห่างจากที่ทำการฯลงมาทางทิศใต้ทางที่จะลงไปปราจีนบุรี โดยต้องเดินเท้าแยกจากทางสายหลักไปประมาณ 1 กิโลเมตรถึงจุดชมวิวที่มีมุมมองเห็นน้ำตกได้สวยงาม น้ำตกมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร เมื่อน้ำไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้จะพุ่งลงสู่หน้าผาชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ ๆ กันในลักษณะชันดิ่ง 90 องศา รวมความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ในฤดูฝนสายน้ำที่ไหลทะลักไปสู่หุบเหวเบื้องล่างจะแรงมากจนน่ากลัวและเมื่อกระทบหินเบื้องล่างจะแตกกระเซ็นสร้างความชุ่มชื้นไปทั่วบริเวณ บริเวณน้ำตกเหวนรกเป็นแดนหากินของช้างป่า ซึ่งช้างมักจะไม่เปลี่ยนเส้นทางหากิน จึงมักเกิดเหตุโศกนาฎกรรมช้างพลัดตกเหวอยู่เนือง ๆ
น้ำตกไม้ปล้อง เป็นน้ำตกที่พบมานานแต่ได้รับการปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ มีทั้งหมด 5 ชั้น ลดหลั่นกันลงมา ชั้นสูงสุดไม่เกิน 12 เมตร มีลักษณะคล้ายคลึงกับน้ำ-ตกเหวนรก หรือเหวสุวัต ตลอดเส้นทางเดินเท้าเรียงรายด้วยโขดหินเล็กใหญ่และลำธารที่สวยงาม การเดินทางไปน้ำตกนี้เริ่มต้นที่วังตะไคร้ จังหวัดนครนายกโดยต้องเดินเท้าระยะทางประมาณ 24 กิโลเมตร ติดต่อเจ้าหน้าที่นำทางได้ที่หน่วยพิทักษ์ฯ ขญ.9 (นางรอง)
การเดินทาง อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 205 กิโลเมตร สามารถไปได้ 2 เส้นทางคือ แยกจากถนนมิตรภาพตรง กม.56 ไปตามถนนธนะรัชต์ประมาณ 23 กม. อีกเส้นทางหนึ่งคือ จากกรุงเทพฯ-แยกหินกอง แล้วไปตามทางหลวงหมายเลข 33 (นครนายก-ปราจีนบุรี) ถึงสี่แยกเนินหอมใช้ทางหลวง 3077 ไปถึงเขาใหญ่ เส้นทางที่สองค่อนข้างชันเหมาะที่จะใช้เป็นทางลงมากกว่า หากโดยสารรถประจำทางจากกรุงเทพฯ ให้ลงที่อำเภอปากช่องแล้วต่อรถสองแถวขึ้นเขาใหญ่ บริเวณหน้าตลาดปากช่องรถจะไปถึงตรงแค่ด่านเก็บเงิน ค่ารถ 15 บาท มีบริการระหว่างเวลา 06.00-17.00 น. จากนั้นต้องโบกรถขึ้นไปยังที่ทำการฯ หรือจะเช่ารถจากปากช่องเลยก็ได้ ค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานฯ ชาวไทย เด็กคนละ 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท ชาวต่างประเทศเด็ก 100 บาท ผู้ใหญ่ 200 บาท รถ 50 บาท
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณผากล้วยไม้จัดเป็นสถานที่ตั้งเต็นท์พักแรม ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้กว่า 1,000 คน เสียค่าธรรมเนียม เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท/คืน มีร้านค้าสวัสดิการขายอาหาร และมีเต็นท์และเครื่องนอนให้เช่า นอกจากนั้นยังมีค่ายพักบริการอีก 2 แห่งคือ ค่ายพักกองแก้ว และค่ายพักเยาวชน ซึ่งรับนักท่องเที่ยวได้ รวม 250 คน และเสียค่าธรรมเนียมคนละ 30 บาท ไม่มีเครื่องนอนให้ ติดต่อขออนุญาตที่ที่ทำการฯก่อนเวลา 18.00 น. สอบถามรายละเอียดที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 7223 และ 0 2579 5734 หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปณ.9 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
ล่องแก่งลำตะคอง ตลอดลำน้ำจะผ่านบ้านเรือน เรือกสวน และป่าไม้เขียวขจี มีความยากในการล่องแก่งที่ระดับ 1-2 ซึ่งไม่ยากเกินไปนัก เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งจะลองกิจกรรมประเภทนี้และยังเหมาะแก่การมาท่องเที่ยวกันเป็นครอบครัว เวลาที่เหมาะสมคือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน เนื่องจากมีน้ำมาก ความแรงของกระแสน้ำพอที่จะทำให้เกิดความตื่นเต้นแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย ส่วนในฤดูแล้งน้ำจะน้อยเกินไป การล่องแก่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 45 นาที และอาจเพิ่มรสชาติการผจญภัยด้วยการนั่งช้างชมป่าหลังจากล่องแก่งก็ได้ หากสนใจกิจกรรมนี้ติดต่อได้ที่ ปางช้างเขาใหญ่ (บ้านป่าเขาใหญ่) ถ.ธนะรัชต์ กิโลเมตรที่ 19.5 โทร. 0 4429 7183 วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ตั้งอยู่บริเวณเขาสีเสียดอ้า ตำบลกลางดง แยกจากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) หลักกิโลเมตรที่ 150 ไปตามถนนลาดยางอีก 3 กิโลเมตร เป็นวัดที่ประดิษฐาน “พระพุทธ-สกลสีมามงคล” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” หรือ “หลวงพ่อใหญ่” เป็นพระพุทธรูปในพระอิริยาบทนั่งปางประทานพรสีขาวขนาดใหญ่ ขนาดหน้าตักกวัาง 27 เมตร สูง 45 เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก โดดเด่นอยู่บนยอดเขาสูงจากระดับพื้นดิน 112 เมตรหรือ 56 วา หมายถึง พระพุทธคุณ 56 ประการ ส่วนความสูงขององค์พระ 45 เมตร หมายถึง พระพุทธองค์โปรดเวไนยสัตว์อยู่ 45 พรรษา หรือเรียกว่าทรงทำพุทธกิจอยู่ 45 พรรษา หลังจากที่ตรัสรู้แล้ว ทางขึ้นไปนมัสการองค์พระเป็นบันไดแยกออกสองข้าง เป็นรูปโค้งเว้าเหมือนขอบใบโพธิ์ นับรวมทั้งด้านซ้ายและขวาทั้งหมด 1,250 ขั้นซึ่งหมายถึง จำนวนพระอรหันต์ที่ไปชุมนุมกัน โดยมิได้นัดหมายในวันมาฆบูชา
ตลาดผลไม้กลางดง เป็นแหล่งจำหน่ายผลิตผลเกษตรของนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง ผลไม้ที่มีชื่อเสียงมากของกลางดง คือ น้อยหน่า ซึ่งมีขายเกือบตลอดปี ช่วงเวลาที่มีขายมากเพราะต้นให้ผลดก คือ ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ พันธุ์ฝ้าย พันธุ์หนัง และพันธุ์ออสเตรเลีย พันธุ์ฝ้ายนั้นเป็นที่รู้จักกันมาช้านาน ถ้าซื้อไปฝากญาติผู้ใหญ่จะเป็นที่ชื่นชอบมากเพราะรับประทานง่าย สำหรับพันธุ์ออสเตรเลียนั้นผลมีสีเขียวและรสดีมาก แต่ยังมีผู้นิยมบริโภคน้อยเนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายและราคาสูงกว่าพันธุ์อื่น
ศูนย์สารสนเทศลิปตพัลลภ ที่พักริมทางลำตะคอง หรือ“สวนน้าชาติ” เป็นศูนย์บริการข้อมูลการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นจุดพักรถเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถและผ่อนคลายความตึงเครียดจากการเดินทางตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 193-194 (เส้นทางสายสระบุรี-นครราชสีมา) บนเนื้อที่ 37 ไร่ เป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพสวยงามเหนืออ่างเก็บน้ำลำตะคองสมบูรณ์ด้วยบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เป็นแบบอย่างที่พักริมทางที่ทันสมัย ครบวงจรแห่งแรก
ภายในบริเวณนี้ นอกจากที่พักชมทิวทัศน์ สวนหย่อม ร้านขายเครื่องดื่มและของใช้จำเป็น ห้องน้ำ โทรศัพท์สาธารณะแล้วยังมีรูปสลักพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ในลักษณะท่ากอดอก ยืนพิงมอเตอร์ไซค์คู่ใจ สูง 3.40 เมตร แกะสลักจากหินทรายสีเขียวซึ่งเป็นหินชั้นดีที่สุดและมีมากที่สุดในจังหวัดนครราชสีมา
ศูนย์การสุนัขทหาร เป็นหน่วยงานที่ขึ้นอยู่กับกรมการสัตว์ทหารบก เป็นศูนย์ฝึกสุนัขทหารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองสาหร่าย ริมทางหลวงหมายเลข 2 ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 183-184 สุนัขที่ฝึกหัดส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ German Shepherd และ Labrador Retriever ในขณะเดียวกันก็มีชมรมรับฝึกสุนัขให้ผู้สนใจทั่วไปด้วย และเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวในหน่วยทหาร ประชาชนสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ภายในศูนย์ โดยจะเปิดให้ชมเป็นพิเศษเฉพาะในวันอาทิตย์ ช่วงเดือน พฤศจิกายน – พฤษภาคม ตั้งแต่เวลา 09.30-11.30 น. ซึ่งเป็นวันที่มีการแสดงสุนัข เช่น การสาธิตฝึกสุนัขทหารให้เชื่อฟังตามคำสั่งขั้นต้น ขั้นสูง สาธิตการตรวจค้นระเบิด ยาเสพติด ข้ามเครื่องกีดขวาง เป็นต้น ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท สอบถามรายละเอียดที่ศูนย์การสุนัขทหารฯ โทร. 0 4431 1990, 0 4431 2809 ต่อ 9007 หรือ กองพันสุนัขทหาร โทร. 0 4431 3666

แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สวนองุ่นบ้านไร่แม่กระต่ายน้อย ตั้งอยู่ที่ 1/1 นิคมผัง 18 ต.ขนงพระ แยกซ้ายจากถนนมิตรภาพ (บายพาส) ทางเข้านิคมสร้างตนเอง ต.หนองสาหร่าย รวมระยะทางจากตัวเมืองประมาณ 83 กิโลเมตร เป็นองุ่นไร้เมล็ด พันธุ์แบลคควีน บนพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ นักท่องเที่ยวสามารถชมและเลือกซื้อองุ่น โดยการตัดจากต้นด้วยตัวเอง ติดต่อเข้าชมล่วงหน้าได้ที่ คุณสุชาดา จันทสถาน โทร. 0 1264 9794, 0 2391 5715-6
ฟาร์มโชคชัย ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ-ปากช่อง กิโลเมตรที่ 159 เป็นฟาร์มโคนมที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย เปิดกิจการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีมัคคุเทศก์นำชมภายในฟาร์มนับแต่ การผลิตน้ำนมดิบ การเลี้ยงโคนม การรีดนม การขี่ม้า ชมฟาร์มม้า ฟาร์มสุนัขและฟาร์มสวนสัตว์ วันธรรมดาเปิดให้เข้าชมช่วงบ่าย รอบ 14.00 น., 15.00 น., 16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพิ่มรอบ 8.00 น.และ 10.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก 75 บาท นักเรียนเป็นหมู่คณะ 50 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 300บาท เด็ก 150 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. 0 4436 1173 ต่อ 116 หรือโทร. 0 4432 8386 ,
0 4432 8485
ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) อยู่ในเขตตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง ตั้งอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 155 ริมถนนมิตรภาพ ศูนย์วิจัยแห่งนี้แต่เดิม คือ “ธนะฟาร์ม” ซึ่งเป็นของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2508 ได้มอบให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยฯนี้ รับผิดชอบงานวิจัย งานฝึกอบรมและเผยแพร่วิชาการเทคโนโลยีการเกษตร
ผลิตผลข้าวโพดหวานของที่นี่จะทยอยปลูกในแปลงทั้งปี และมีจำหน่ายให้ผู้ที่ผ่านไปมาบริเวณด้านหน้าฟาร์ม นอกจากนั้นยังปลูกข้าวโพดไร่เพื่อไปผลิตอาหารสัตว์ มีแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์งา และถั่วเหลือง ทิวทัศน์ในไร่สวยงามมากเป็นบรรยากาศของทุ่งข้าวโพดอยู่กลางหุบเขาและเคยใช้เป็นฉากถ่ายละครหลายเรื่อง ปัจจุบันมีการจัดกิจกรรมทางด้านทัวร์เกษตรสำหรับหมู่คณะที่สนใจศึกษาเทคโนโลยีการเกษตร เช่น กระบวนการผลิต การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ฯลฯ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เดินป่า ไร่สุวรรณมีพื้นที่ประมาณ 3,000 ไร่ โดยมีแนวเขากั้นเป็นแนวแบ่งระหว่างด้านหน้าและด้านหลังเขา ซึ่งภูเขายังคงสภาพป่าที่สมบูรณ์ มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ลิง ไก่ป่า นก กระรอก ฯลฯ การเข้าชมเป็นหมู่คณะและต้องการวิทยากรบรรยายให้ความรู้ควรติดต่อล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในวันและเวลาราชการ โทร. 0 4436 1770-4 โทรสาร 0 4436 1108
ไร่องุ่นสุพัตรา อยู่ที่ 59/2 ม. 2 ต.กลางดง บนถนนมิตรภาพ แยกซ้ายไปประมาณ 800 เมตร บนพื้นที่ 20 ไร่ เป็นองุ่นมีเมล็ดและไร้เมล็ดมีผลิตภัณฑ์จากองุ่น เช่น กะหรี่พั๊พไส้องุ่น และองุ่นตัดสดจำหน่ายตลอดทั้งปี นอกจากนั้นยังมีกิ่งพันธุ์องุ่นจำหน่ายให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปลูกองุ่นด้วย สนใจติดต่อ คุณสานิต คำพิทักษ์ โทร. 0 1853 9493, 0 1946 6886
ไร่องุ่นปากช่อง ตั้งอยู่ที่ 102 ม.5 ต.พญาเย็นเป็นไร่องุ่นพันธุ์ต่างประเทศ ไร้เมล็ด และมีโรงงานผลิตไวน์เขาใหญ่ ซึ่งเป็นไวน์ที่มีคุณภาพเยี่ยมและราคาถูก บนพื้นที่กว่า 2,000 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูกองุ่นสำหรับผลิตไวน์ 400 ไร่ และองุ่นสำหรับรับประทานสด 100 ไร่ นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าชมต้องติดต่อล่วงหน้าที่ คุณมานพ ซับซ้อน ผู้จัดการไร่องุ่นปากช่อง โทร.
0 4423 9014, 0 1937 7873
สวนดอกไม้เมืองพร ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 60 กิโลเมตร แยกซ้ายมือที่หลักกิโลเมตรที่ 196 (ตรงข้ามกับทางเข้าเขื่อนลำตะคอง) แยกซ้ายขึ้นเขายายเที่ยงเข้าไปประมาณ 500 เมตร เป็นแหล่งผลิตพันธุ์ไม้กว่า 300 ชนิด ทั้งไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ดอกเมืองร้อน-เมืองหนาว ไม้ผล ไม้ยืนต้น บนพื้นที่กว่า 70 ไร่ จัดเรียงไว้เป็นแปลงๆ กำหนดทางเดินอย่างเป็นระเบียบ โดยจัดวางรูปแบบให้เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตต้นไม้ มีร้านอาหารซึ่งสามารถชมทิวทัศน์อ่างเก็บน้ำลำตะคองได้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 – 22.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 4432 3263 , 0 4432 3459-61 โทรสาร 0 4432 3264

อำเภอสีคิ้ว
เขื่อนลำตะคอง ตั้งอยู่ตำบลลาดบัวขาว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 62 กิโลเมตร มีทางแยกจากทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) บริเวณกิโลเมตรที่ 196-197 ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นเขื่อนดินสร้างกั้นลำตะคองที่ช่องเขาเขื่อนลั่นและช่องเขาถ่านเสียดในปีพ.ศ. 2517 เพื่อนำน้ำเหนือเขื่อนมาใช้ประโยชน์ในด้านชลประทาน นักท่องเที่ยวสามารถเดินเที่ยวบนสันเขื่อนเพื่อชมทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำซึ่งมีฉากหลังเป็นภูเขาสวยงามเหมาะสำหรับพักผ่อนในยามแดดร่มลมตก เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น.
โรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เขื่อนลำตะคอง ตำบลคลองไผ่ เป็นโครงการโรงไฟฟ้าแบบสูบกลับเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าเสริมระบบในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด โดยการนำพลังงานไฟฟ้าที่เหลืออยู่ (ช่วงมีความต้องการไฟฟ้าน้อย) ในระบบมาใช้สูบน้ำจำนวนหนึ่งที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเดิม (ของกรมชลประทาน) ขึ้นไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำข้างบน (กฟผ.สร้างขึ้นใหม่) และเมื่อมีความต้องการไฟฟ้ามากในช่วงหัวค่ำ ก็ปล่อยน้ำจำนวนเดียวกันนี้ให้ไหลกลับคืนลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองตามเดิมโดยผ่านกังหันน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าเสริมระบบ เป็นปัจจัยในการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคอย่างมาก สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมโครงการต้องทำหนังสือติดต่อล่วงหน้า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. (044) 214990-3
แหล่งหินตัดสีคิ้ว ตั้งอยู่บนถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ห่างจากตัวเมืองประมาณ 40 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 206-207 ด้านซ้ายมือเป็นเนินเขาที่เต็มไปด้วยหินทรายสีขาว ปรากฎร่องรอยของการสกัดหินเป็นร่องลึกรูปสี่เหลี่ยมขนาดต่างๆอยู่หลายแนวและยังทิ้งร่องรอยของคมสิ่วที่ใช้เป็นเครื่องมือในการสกัด สันนิษฐานว่าเดิมคงจะนำหินทรายบริเวณนี้ไปสร้างปราสาทหินที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ปราสาทเมืองแขก ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองเก่า
วัดเขาจันทน์งาม ตั้งอยู่ที่บ้านเลิศสวัสดิ์ จากตัวเมืองใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) ประมาณ 50 กิโลเมตร บริเวณกิโลเมตรที่ 200-201 มีทางแยกซ้ายเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นแหล่งศิลปะภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ซี่งอยู่บริเวณด้านหลังวัด โดยเดินเท้าผ่านสวนหินและป่าธรรมชาติอันร่มรื่นและเงียบสงบเข้าไปประมาณ 150 เมตร จะพบภาพเขียนลงสีแบบเงาทึบสีแดงเป็นแนวปรากฎอยู่บนเพิงผาหินทรายด้านหนึ่ง อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 4 เมตร เป็นรูปคนและสัตว์ที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่หรือกิจกรรมบางอย่างของกลุ่มคน เช่น ลักษณะการแต่งกาย การดำรงชีวิต การล่าสัตว์ สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นโดยชุมชนเกษตรกรรมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มีอายุระหว่าง 3,000 – 4,000 ปี

อำเภอสูงเนิน
โบราณสถานเมืองเสมา ตั้งอยู่ที่ตำบลเสมา ห่างจากนครราชสีมาประมาณ 37 กิโลเมตร จากตลาดอำเภอสูงเนิน เดินทางข้ามลำตะคองและผ่านบ้านหินตั้งไปจนถึงเมืองเสมาเป็นระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร แผนผังเมืองเสมาเป็นรูปไข่กว้าง 3 กิโลเมตร ยาว 4 กิโลเมตร ปัจจุบันยังเห็นร่องรอยคูเมืองและกำแพงดินล้อมรอบเป็นบางส่วน เมืองนี้เป็นเมืองโบราณสมัยทวารวดี ตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12 และมีพัฒนาการสืบเนื่องมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16-17 ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมขอมโบราณ บริเวณเมืองเสมามีซากโบราณสถานก่อด้วยศิลาแลงและหินทรายหลงเหลืออยู่ มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ พระนอนหินทรายและธรรมจักรเก่าแก่ซึ่งปัจจุบันอยู่ในบริเวณวัดธรรมจักรเสมา-ราม
วัดธรรมจักรเสมาราม ตั้งอยู่ที่บ้านคลองขวาง ตำบลเสมา แต่เดิมบริเวณนี้เป็นศาสนสถานในสมัยทวารวดี มีโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อสร้างด้วยหินทรายแดงขนาดใหญ่หลายๆก้อนประกอบกันขึ้นตามแนวทิศเหนือทิศใต้ มีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร อายุราว พ.ศ. 1200 พระเศียรอยู่ทางทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก พระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยมประกอบด้วยหินทรายสี่แผ่นวางซ้อนกัน พระวร-กายประกอบด้วยหินทรายรวมกันเป็นแผ่นในแนวตั้ง นอกจากนี้ยังมีธรรมจักรหินทรายเก่าแก่ รูปซี่กงล้อ ตอนล่างสลักลายคล้ายหน้าพนัสบดี( เจ้าป่า ต้นโพธิ์ ต้นไทร) เก็บรักษาไว้ในศาลา ส่วนโบราณวัตถุอื่น ๆได้แก่พระพุทธรูปสำริด พระพิมพ์ดินเผา ลูกปัดแก้ว แวดินเผาที่ใช้ปั่นด้าย และศิลาจารึก จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
เมืองโบราณที่ตำบลโคราช หรือ เมืองโคราชเก่า ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมขอมในอดีตที่พบในเขตนครราชสีมา มีร่องรอยโบราณสถานหลงเหลือให้เห็น 3 แห่งด้วยกันคือ ปราสาทโนนกู่ ปราสาทเมืองแขก ปราสาทเมืองเก่า การเดินทางจากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-สระบุรี) ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 221-222 เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2161 (เข้าสู่อำเภอสูงเนิน)ไปประมาณ 3 กิโลเมตร ให้สังเกตทางแยกขวามือข้างวัดญาณโศภิต-วนาราม(วัดป่าสูงเนิน) ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่โบราณสถานเหล่านี้ คือ
ปราสาทโนนกู่ ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก หมู่ที่ 7 ตำบลโคราช ห่างจากแยกวัดญาณโศภิตวนาราม 3 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานขนาดเล็กก่อด้วยอิฐและหินทราย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยปรางค์หลังเดี่ยวบนฐานสูง ด้านหน้ามีวิหารหันเข้าหาปรางค์ประธานอยู่ 2 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นทางเข้า-ออก และที่ลานระหว่างวิหารทั้งสองนั้นพบโคนนทิหมอบในอาการเคารพปราสาทประธานอันเป็นที่สถิตของพระศิวะมหาเทพ ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดู จากการขุดแต่งปราสาทแห่งนี้ในปีพ.ศ.2534–2535 ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ที่สร้างขึ้นตามแบบศิลปะเขมรโบราณ ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 15
ปราสาทเมืองแขก อยู่ถัดจากปราสาทโนนกู่ไปประมาณ 600 เมตร เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ก่อด้วยอิฐและหินทราย มีลักษณะแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศเหนือ ประกอบด้วยปราสาทประธาน บรรณาลัย (ห้องสมุด) 2 หลัง ระเบียงคด ซุ้มประตู สระน้ำ กำแพงแก้ว และปราสาทก่อด้วยอิฐขนาดเล็ก จากการขุดแต่งทางโบราณคดีในปีพ.ศ.2502 และการขุดแต่งบูรณะในปีพ.ศ.2533–2534 พบทับหลังที่แกะสลักลวดลายต่างๆ ประติมากรรมรูปเทพเจ้า รวมทั้งศิลาจารึกที่ถูกนำมาก่อเป็นฐานประตูซุ้มชั้นนอกสุด สันนิษฐานว่าปราสาทแห่งนี้น่าจะเป็นศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์อายุราวพุทธศตวรรษที่15 ปราสาทเมืองเก่า ตั้งอยู่ในวัดปรางค์เมืองเก่า ตำบลโคราช อยู่เลยปราสาทเมืองแขกไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร สังเกตบริเวณทางเข้าด้านหน้าวัดสร้างเป็นรูปประตูเมืองเก่าโคราชและอนุสาวรีย์ย่าโม ปราสาทเมืองเก่าเป็นโบราณสถานขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง หินทราย มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นโบราณสถานในศาสนาพุทธลัทธิมหายานประเภทอโรคยาศาล(โรงพยาบาล)ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรขอม ทรงสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1724-1763 แผนผังประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง มีบรรณาลัยอยู่ทางมุมขวาด้านหน้า ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วซึ่งมีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ด้านหน้า นอกกำแพงมีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมกรุด้วยศิลาแลง
ผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับทับหลังและโบราณวัตถุต่างๆ ที่ค้นพบที่ปราสาททั้งสามแห่ง สามารถไปชมได้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย

อำเภอด่านขุนทด
วัดบ้านไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลกุดพิมาน จากตัวเมืองเดินทางตามถนนมิตรภาพ ถึงกิโลเมตรที่ 237 แยกขวาผ่านอำเภอขามทะเลสอและบ้านหนองสรวงไปจนถึงอำเภอด่านขุนทด ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร จากโรงพยาบาลด่านขุนทดใช้ทางหลวงหมายเลข 2217 เป็นระยะทางอีกประมาณ 11 กิโลเมตร วัดบ้านไร่เป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเป็นสถานที่จำพรรษาของหลวงพ่อคูณ ปริสทฺโธ เกจิอาจารย์ชื่อดัง ในแต่ละวันมีผู้คนจากทุกสารทิศเดินทางมานมัสการหลวงพ่อคูณกันเป็นจำนวนมาก

อำเภอพิมาย
อนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านสัมฤทธิ์ตะวันออก ต.สัมฤทธิ์ ห่างจากตัวเมือง 46 กิโลเมตร การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 43-44 แยกขวาเข้าไปประมาณ 3 กิโลเมตร บริเวณที่โล่งกว้างนี้เคยเป็นสนามรบระหว่างชาวโคราชและทหารลาวเมื่อครั้งสงครามเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ปัจจุบันมีการสร้าง ศาลสถิตย์ดวงวิญญาณนางสาวบุญเหลือและวีรชน ซึ่งชาวบ้านสัมฤทธิ์ร่วมกันสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2531 เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ดวงวิญญาณของนาวสาวบุญเหลือและวีรชนชาวโคราชที่ได้ทำการต่อสู้กับกองทัพลาวจนได้ชัยชนะ มีการจัดงานฉลองและรำลึกถึงวีรกรรมทุกปี ระหว่างวันที่ 3-5 มีนาคม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย บริเวณเชิงสะพานท่าสงกรานต์ ก่อนถึงปราสาทหินพิมายเล็กน้อย จากตัวเมืองนครราชสีมาเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ระยะทาง 50 กิโลเมตรถึงทางแยกตลาดแคเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง 206 อีก 10 กิโลเมตร หากใช้บริการรถโดยสารสามารถขึ้นรถได้ที่สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ในตัวเมืองนครราชสีมาพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เป็นสถานที่รวบรวมหลักฐานทางโบราณคดีและจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมอีสานในอดีต โดยเฉพาะโบราณวัตถุศิลปวัตถุที่ค้นพบในเขตอีสานตอนล่าง แบ่งการจัดแสดงออกเป็นส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ และ ส่วนอาคารเก็บทับหลัง ส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ได้รับการยกย่องว่ามีการจัดวางศิลปโบราณวัตถุต่างๆ ไว้อย่างสวยงามน่าชมเป็นระเบียบ ทันสมัย แบ่งการจัดแสดงเป็นหลายส่วนเช่น ศิลปพื้นบ้านแบบภาคอีสาน อุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน เช่น โตก ครกกระเดื่อง หีบฝ้าย เกวียน ขนอนไม้สำหรับบรรทุกข้าวเปลือกจากนาสู่ยุ้งข้าว หรือ เครื่องใช้สำหรับพระภิกษุสามเณร และมีส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติเมืองพิมายและทับหลังที่นำมาจากปราสาทหินต่างๆในจังหวัดนครราชสีมาและภาคอีสาน นอกจากนี้ยังมีโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่นำมาจัดแสดงได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาโบราณ โครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องประดับที่ทำจากสำริดและหิน และโบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ได้แก่ ใบเสมาแบบศิลปทวารวดี ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมแบบเขมร เช่น หน้าบัน เสาประดับกรอบประตู ทวารบาล และประติมากรรมรูปเคารพ อาทิ พระพุทธรูป เทวรูป รูปพระโพธิสัตว์ และประติมากรรมชิ้นเด่นของพิพิธภัณฑ์คือรูปปั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำจากหินทรายพบที่ปรางค์พรหมทัต ปราสาทหินพิมาย ชั้นที่สองจัดแสดงเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของวัฒนธรรมของภาคอีสานในอดีต ชุมชนแรกเริ่ม อิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4447 1167
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ“ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ “พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิ-มาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูปเคารพหรือศาสนาสถานสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ต่างจากปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศ-ธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมืองพิมายทางด้านทิศใต้จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
ปราสาทหินพิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้
สะพานนาคราช เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก จะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตูด้านทิศใต้ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายในการสร้างให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ
ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจากตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกมีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม
ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน (ระเบียงคด) เมื่อผ่านจากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกไปแล้ว ก็จะถึงซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธาน กำแพงชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดินมีหลังคาคลุม อันเป็นลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน การบูรณะระเบียงคดเมื่อปีพ.ศ 2532 ได้พบแผ่นทองดุนลายรูปดอกบัว 8 กลีบ บรรจุไว้ในช่องบนพื้นหินของซุ้มประตูระเบียงคดเกือบจะทุกด้าน แผ่นทองเหล่านี้คงไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลเหมือนที่พบในปราสาทอื่นอีกหลายแห่ง
ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้ ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ)และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวเป็นส่วนประกอบบางส่วน เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น องค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่น ๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน
ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลัก เป็นรูปประติมากรรมฉลององค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนานพื้นเมืองเรื่องท้าวพรหมทัตพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย
ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า ออกจากระเบียงคด (กำแพงชั้นใน) มาบริเวณลานชั้นนอกทางด้านทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย มีสองหลังตั้งอยู่คู่กันและมีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท มีบริการยุวมัคคุเทศก์ซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนพิมายวิทยานำชมสถานที่ฟรี
โบราณสถานนอกกำแพงปราสาทหินพิมาย มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
ประตูเมืองและกำแพงเมืองพิมาย สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บรรดาประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ ประตูชัยด้านทิศใต้นับเป็นประตูเมืองที่สำคัญที่สุด เพราะรับกับถนนโบราณที่ตัดผ่านมาจากเมืองพระนครเข้าสู่ตัวปราสาทพิมาย หากหยุดยืนที่ช่องประตูเมืองด้านทิศใต้ จะมองเห็นปราสาทหินพิมายผ่านช่องประตูเมืองพอดี ลักษณะประตูเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทางผ่านตลอดกลางประตู ส่วนของหลังคาได้หักพังไปหมดแล้ว
เมรุพรหมทัต อยู่นอกกำแพงปราสาทด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ปัจจุบันเป็นมูลดินทับถมจนเป็นรูปกลมสูงประมาณ 30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 59 เมตร ที่เรียกว่าเมรุพรหมทัตเพราะเชื่อว่าเป็นที่ถวายเพลิงพระศพท้าวพรหมทัตตามตำนานนั่นเอง แต่จากลักษณะการก่อสร้างเข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย
นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานทางด้านทิศใต้ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และ อโรคยาศาล
ไทรงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณเขื่อนพิมาย โดยก่อนข้ามสะพานท่าสงกรานต์เข้าตัวอำเภอพิมาย จะมีทางแยกไปเขื่อนพิมายอีกประมาณ 2 กิโลเมตร บรรยากาศไทรงามแห่งนี้มีต้นไทรขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ไทรเหล่านี้เกิดจากต้นแม่อายุประมาณ 350 ปี แผ่กิ่งก้านสาขาออกรากซึ่งเจริญเติบโตเป็นลำต้นใหม่มากมายครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ประมาณ 15,000 ตารางฟุต สถานที่นี้มีชื่อเสียงรู้จักกันมานานตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองพิมายเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2454 และได้พระราชทานนามว่า “ไทรงาม” ในบริเวณใกล้เคียงมีร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหารหลายร้าน อาหารที่นักท่องเที่ยวนิยมมารับประทานกันมากคือ ผัดหมี่พิมาย(ผัดหมี่โคราช)ที่เส้นเหนียวนุ่มน่ากินไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปสุกรบ้านน้อยสามัคคี ม.15 ต.ในเมือง ห่างจากแยกตลาดแค (เส้นทางตลาดแค-พิมาย) ประมาณ 9 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงพยาบาลพิมาย จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปประมาณ 500 เมตร เป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผลิตสินค้าแปรรูปจากเนื้อหมู เช่น ไส้กรอกอีสาน, หมูแผ่น, หมูหยอง, ลูกชิ้นหมู, หมูแดดเดียว รสชาติอร่อย สะอาด ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานส่งเสริมการเกษตรดีเด่น ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2543 สนใจเข้าชมขั้นตอนการผลิต ติดต่อล่วงหน้าที่ นางจันทร์เพ็ญ อริยเดช ประธานกลุ่มแม่บ้านฯ โทร. 0 4428 5297
ไร่องุ่นเพชรพิมาย อยู่ที่บ้านนิคมสร้างตนเอง สาย 4 ซอย 2 ห่างจากอำเภอพิมายประมาณ 13 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2163 (พิมาย-หินดาด) มีป้ายบอกทางเข้าไร่ชมและเลือกซื้อองุ่นสดๆ ปลอดสารพิษ ทั้งชนิดมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด โดยการตัดจากต้นด้วยตัวเอง สนใจเข้าชมติดต่อล่วงหน้าได้ที่ โทร. 0 4447 1333, 0 2966 8694

อำเภอประทาย
ปราสาทนางรำ ตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ ตำบลนางรำ ไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ประมาณ 62 กิโลเมตร จนถึงแยกบ้านวัด เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 207 ไปประมาณ 22 กิโลเมตรถึงบ้านหญ้าคา (หรือก่อนถึงตัวอำเภอประทาย 11 กิโลเมตร) จากนั้นเลี้ยวซ้ายทางเข้าวัดปราสาทนางรำอีก 4 กิโลเมตร ชื่อ ปราสาทนางรำ มาจากว่า เดิมเคยมีรูปนางรำ เป็นหินสีเขียวทำแบบเทวรูป อยู่ทางทิศตะวันตกของวิหารห่างไป 1.5 กิโลเมตร ปัจจุบันเหลือแต่ร่องรอยของเทวสถานและแท่นหิน
ปราสาทนางรำเป็นโบราณสถานสมัยขอมที่เรียกว่าเป็น อโรคยาศาล (โรงพยาบาล) สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 2 กลุ่มตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน กลุ่มปรางค์ที่สมบูรณ์กว่าหลังอื่นประกอบด้วยปรางค์องค์กลาง มีมุขยื่นออกไปข้างหน้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทมีวิหารก่อด้วยศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันตก มีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ ส่วนซุ้มโคปุระหรือประตูทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปกากบาท นอกกำแพงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสระน้ำขนาดเล็กก่อด้วยศิลาแลง ถัดจากปราสาทนางรำไปทางทิศใต้ มีปราสาทอีก 3 หลังเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งเหลือเพียงฐานและมีกรอบประตูและทับหลังหินทรายตั้งแสดงอยู่ มีกำแพงศิลาแลงและคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบ

อำเภอบัวใหญ่
ปรางค์กู่ ตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดบ้านกู่ ตำบลดอนตะหนิน จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ไปประมาณ 74 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตรงตู้ยามตำรวจทางหลวงบ้านโนนตาเถรไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าไปทางโรงเรียนวัดบ้านกู่ ลักษณะเป็นปรางค์สมัยขอมขนาดเล็ก ฐานสี่เหลี่ยม ก่อด้วยศิลาแลงวางซ้อนกันจากฐานถึงยอด แต่ปัจจุบันสภาพปรักหักพังไปแล้ว หลงเหลือเพียงซากฐานไม่สูงนัก ภายในองค์ปรางค์มีพระพุทธรูปดินเผาซึ่งยังหลงเหลือให้เห็นอยู่ 4-5 องค์

อำเภอสีดา
ปรางค์สีดา ตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระปรางค์สีดา ตำบลสีดา จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น) ไปประมาณ 84 กิโลเมตร ถึงบริเวณสี่แยกสีดาเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงเลข 202 (ไปทางอำเภอประทาย) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าวัดอีกราว 2 กิโลเมตร ปรางค์สีดามีลักษณะคล้ายปรางค์กู่ที่ตำบลดอนตะหนิน แต่ปรางค์สีดาปิดทึบทั้งสี่ด้าน เป็นโบราณสถานในศาสนาพราหมณ์ ศิลปะแบบเขมรโบราณ ก่อด้วยศิลาแลงจำนวน 1 หลัง มีลวดลายปูนปั้นประดับหันหน้าไปทางทิศตะวันออกล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17–18

อำเภอขามทะเลสอ
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลขามทะเลสอ ตั้งอยู่เลขที่ 92/1 ม. 5 บ้านโคกแฝก ตำบลขามทะเลสอ ห่างจากจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 23 กิโลเมตร จากที่ว่าการอำเภอขามทะเลสอ เลี้ยวขวาทางเข้าวัดป่าอิสริการาม ระยะทาง 3 กิโลเมตร ถึงที่ทำการประปาตำบล เลี้ยวซ้ายอีก 500 เมตร เข้าถนนสุขพัฒนา เป็นไร่นาสวนผสมที่มีทั้งแปลงปลูกข้าว ไม้ผล เลี้ยงไก่บนบ่อปลา เลี้ยงไก่และเป็ดไก่ ฯลฯ สนใจเยี่ยมชม ติดต่อ นายเจริญ ชาญสูงเนิน โทร. 0 4433 3049

อำเภอขามสะแกแสง
กลุ่มอาชีพการเกษตรผสมผสานบ้านหนุก ม.4 ต.ขามสะแกแสง ห่างจากที่ว่าการอำเภอขามสะแกแสงประมาณ 5 กิโลเมตร ตามเส้นทางขามสะแกแสง - โนนสูง เป็นไร่นาสวนผสมของนายสลิด มุ่งแฝงกลาง มีแปลงสาธิตจัดเป็นส่วน เช่น นาข้าว สวนกล้วย ฝรั่ง และบ่อปลา เคยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดระดับภาค ปี 2541

อำเภอห้วยแถลง
หมู่บ้านปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านหลุ่งประดู่สามัคคี ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ต.หลุ่งประดู่ บนทางหลวงหมายเลข 2163 (เส้นทางพิมาย-หินดาด) บริเวณหลัก กม.ที่ 21 แยกขวามือมีป้ายบอกทางเข้าหมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านหลุ่งประดู่ รวมระยะทางจากจังหวัดนครราชสีมาประมาณ 90 กิโลเมตร มีการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า ในลักษณะครบวงจร ชมกระบวนการฟอก ย้อมสีจากธรรมชาติและสีเคมี รวมทั้งการสาวไหม การทอผ้าลวดลายโบราณ และสมัยใหม่ สนใจเยี่ยมชม ติดต่อ นางชูศรี คะเรียงรัมย์ โทร. 0 4423 4797, 0 1265 7306

อำเภอปักธงชัย
วัดหน้าพระธาตุ (วัดตะคุ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลตะคุ การเดินทางจากตัวเมืองนครราชสีมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 314 ประมาณ 30 กิโลเมตร (ผ่านสี่แยกปักธงชัย) มีทางแยกด้านขวามือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2238 ไปบ้านตะคุ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้แก่ เจดีย์ อุโบสถ และหอไตรกลางน้ำที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี มีศิลปะแบบท้องถิ่นปะปนอยู่มาก อุโบสถหลังเก่ามีจิตรกรรมฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์ปรากฎให้เห็นอยู่เกือบสมบูรณ์ทั้งบริเวณผนังด้านหน้าข้างนอกและผนังด้านในทั้งสี่ด้าน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติชาดกและเป็นภาพการสักการะพระพุทธบาท นอกจากนั้นยังแทรกภาพชีวิตประจำวันของชาวบ้านในสมัยนั้นด้วยเช่น การทำนา การหาปลา เป็นต้น ทางด้านหน้าอุโบสถหลังเก่า มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่กลางสระมีหอไตร 1 หลัง ทรงเตี้ยแบบหอไตรพื้นเมืองอีสานซึ่งมีภาพลายรดน้ำที่บานประตูเป็นลวดลายวิจิตรสวยงามมาก ระหว่างหอไตรและอุโบสถหลังเก่า ยังมีเจดีย์ศิลปะแบบลาวเก่าอีก 1 องค์ สร้างโดยชุมชนที่อพยพมาจากนครเวียงจันทน์
เขื่อนลำพระเพลิง อยู่ในเขตอำเภอปักธงชัย ใช้เส้นทางสาย 314 ผ่านทางเข้าอำเภอปักธงชัยไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะพบสี่แยกเลี้ยวขวามือเข้าไปเป็นระยะทาง 28 กิโลเมตร เป็นเขื่อนในความดูแลของกรมชลประทาน ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อน รับประทานอาหาร ตกปลาและชมทิวทัศน์ริมอ่างเก็บน้ำ มีบริการบ้านพักรับรองหลายหลัง ติดต่อโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง โทร. 0 4437 3184 ต่อ 114 นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเหมาเรือหางยาวไปชมบรรยากาศภายในอ่างเก็บน้ำ เที่ยวน้ำตกคลองกี่หรือน้ำตกขุนโจนได้ โดยใช้เวลาไป-กลับประมาณ 3-4 ชั่วโมง ติดต่อได้ที่สโมสรเขื่อนลำพระเพลิง โทร. 0 4437 3184 ต่อ 117
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ไร่องุ่นรัตนธงชัย ตั้งอยู่ที่บ้านดู่ อำเภอปักธงชัย บนเนื้อที่กว่า 80 ไร่ องุ่นพันธุ์เยี่ยมจากต่างประเทศที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเติบโตและให้ผลผลิตได้ในเมืองไทย ได้นำมาปลูกไว้ในพื้นที่ปักธงชัยนี้และสามารถติดดอกออกผลที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ มีทั้งองุ่นมีเมล็ดและไม่มีเมล็ดหลายสายพันธุ์ด้วยรสชาติหวานอร่อยของผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปนานาชนิด
การเดินทาง จากตัวเมืองนครราชสีมาใช้เส้นทางหมายเลข 314 (โคราช-ปักธงชัย) ประมาณ 25 กิโลเมตร จนถึงสี่แยกอวยชัย เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอโชคชัย ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ทางเข้าไร่ทางขวามือ (ทางเข้าทางเดียวกับโครงการพิมคำแลนด์) ประมาณ 1 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 1877 1228 , 0 1977 4278
โครงการสวนปู่ย่าน่าอยู่ บ้านสวนหอม ม.14 ต.ตูม บนเส้นทางเข้าสู่เขื่อนลำพระเพลิง (ระยะทาง 8 กิโลเมตรจากสี่แยกลำพระเพลิง) เป็นลักษณะไร่นาสวนผสมแบบเก่า ปลูกพืชเล่นระดับสูง กลาง ต่ำ บนพื้นที่ 21 ไร่ ของนายเหวา เลิศพรหมราช เป็นบ้านที่ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาดีเด่น มีผู้สนใจเดินทางมาศึกษาดูงานด้านการเกษตรตลอดปี

อำเภอวังน้ำเขียว
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เป็นศูนย์วิจัยพันธุ์ไม้ในเขตป่าภาคอีสานและเปิดให้หมู่คณะที่สนใจมาจัดกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงนิเวศ อยู่ริมเส้นทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทาง 57 กิโลเมตรจากตัวเมือง มีพื้นที่ประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร (48,750 ไร่) สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง พบสัตว์ป่าหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นหมูป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้าพระยาลอและนกต่าง ๆ หากได้มีโอกาสปีนขึ้นไปบนยอดหอคอยสูงเหนือระดับยอดไม้ที่ทางสถานีสร้างขึ้น จะมองเห็นผืนป่าเขียวขจีอันกว้างใหญ่รายล้อมอยู่รอบตัว ตลอดจนเห็นเขาแผงม้าที่อยู่ไกลออกไป อากาศที่นี่เย็นสบายตลอดปี มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทางซึ่งใช้เวลาตั้งแต่ 1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 3 ชั่วโมง มีบ้านพักไว้บริการจำนวน 3 หลัง พักได้หลังละ 20 คน สอบถามรายละเอียดโทร.0 4425 8642 หรือ ติดต่อที่ฝ่ายจัดการสถานีวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โทร 0 2579 1121–30,
0 2579 0160 ต่อ 4401 โทรสาร 0 2561 4771
น้ำตกห้วยใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติทับลาน ในท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) เข้าทางตลาดกม.79 ไปประมาณ 6 กิโลเมตร ทางเดินเข้าน้ำตกเป็นทางลาดเล็กน้อย เข้าไปประมาณ 20 เมตร ก็จะพบธารน้ำตกขนาดเล็ก ไหลผ่านก้อนหินใหญ่สองก้อน น้ำตกจะมีเฉพาะช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน)
โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ (เขาแผงม้า) อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทางประมาณ 79 กิโลเมตร เมื่อถึงตลาด บริเวณกิโลเมตร 79 มีทางแยกขวาไปตามถนนรพช.สายศาลเจ้าพ่อ–หนองคุ้มอีก 11 กิโลเมตร เส้นทางช่วงสุดท้ายประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นทางดินขึ้นเขามีทิวทัศน์สวยงามแต่ค่อนข้างขรุขระ เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาจะเห็นภูเขาสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 850 เมตร พื้นที่นี้เป็นโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งอยู่ในความดูแลของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ มีการจัดกิจกรรมปลูกป่า เดินป่า ดูสัตว์ (โดยเฉพาะกระทิงซึ่งยังมีให้เห็น) และฉายสไลด์ให้ความรู้กับผู้สนใจ มีค่ายพักแรมลักษณะเป็นเรือนนอนไม้ไผ่ 3 หลัง พักได้หลังละ 10–20 คน ติดต่อล่วงหน้าได้ที่โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ เขาแผงม้า หมู่ 4 ตำบลวังน้ำเขียว โทร 0 1976 9130
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สวนสตรอเบอร์รี่บ้านปฏิรูป เลขที่ 333 หมู่ที่ 3 ต.ไทยสามัคคี โทร. 0 4422 8370 นายเสน่ห์ ศิริชัยคีรีโกศล เกษตรกรผู้ผลิต ได้เริ่มทดลองปลูกสตรอเบอร์รี่มาตั้งแต่ปี 2540 โดยนำสายพันธุ์มาจากอำเภอแม่จริม จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่ามีการเจริญเติบโตได้ผลผลิต และมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด แต่เน้นการปลูกในกระถางและถุงพลาสติกดำ
ซุ้มไม้งาม ของนายชูสักดิ์ นิยมนา อยู่ที่บ้านบุไผ่ ต.ไทยสามัคคี เลยที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียวไป 5 กิโลเมตร แยกซ้ายบ้านบุไผ่อีก 3 กิโลเมตร เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับ ได้รับทุนโครงการหลวงมาช่วยพัฒนา ผลผลิต ได้แก่ เฟิร์น, เบญจมาศ, เซอนาดู่ (ตัดใบขายใช้แต่งแจกัน) กุหลาบ (มีเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) หน้าวัว ผลไม้ได้แก่ มังคุด เงาะ ลิ้นจี่ กระท้อน ลองกอง มะขามหวาน ช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม มีผลไม้ทุกชนิด
ผักสลัดเมืองหนาวปลอดสารพิษบ้านสุขสมบูรณ์ อยู่ที่ 111 ม.2 ต.ไทยสามัคคี ห่างจากซุ้มไม้งามไปอีก 5 กิโลเมตรผ่านโรงเรียนบ้านไทยสามัคคี เป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เรื่องการผลิตผักปลอดสารพิษ และเป็นแหล่งปลูกผักสลัด ทั้งสลัดใบเขียว ใบแดง สลัดแก้ว สลัดใบแดงหยิกฝอย ฯลฯ สนใจติดต่อ นายไกร ชมน้อย โทร. 0 1274 6961
สวนผลไม้ปลอดสารพิษบ้านศาลเจ้าพ่อ อยู่ที่ 268 หมู่ที่ 1 บ้านศาลเจ้าพ่อ ต.วังน้ำเขียว แยกขวามือตรงศาลเจ้าพ่อหลวงราช (ทางขึ้นเขาแผงม้า) เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านศาลเจ้าพ่อ – คลองสอง อีกประมาณ 500 เมตร มีพื้นที่ 40 ไร่ ปลูกผลไม้ในลักษณะผสมผสานกันจำนวนมากกว่า 40 ชนิด เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ ฯลฯ โดยไม่ใช้สารเคมีแต่ใช้วิธีคิดค้นหาสูตรจากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทำให้ลดต้นทุนการผลิตไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สนใจเข้าชมติดต่อ นายสมนึก กองลำเจียก โทร. 0 4428 8323
สวนหน้าวัวคุณสุชาดา อยู่ที่บ้านเลขที่ 116 ม.4 บ้านเขาแผงม้า จากทางแยกขวามือ ตรงศาลเจ้าพ่อหลวงราช ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางวัดเขาแผงม้า เป็นทางลูกรังอีก 1 กิโลเมตร ปลูกหน้าวัวหลากหลายสายพันธุ์จากประเทศฮอลล์แลนด์ ทั้งดอกสีแดง สีขาว สีเขียว สีม่วง สีเขียวอ่อน สีเขียวมรกต เป็นต้น สนใจเข้าชมติดต่อล่วงหน้าที่ คุณสุชาดา หล่อสกุลสินธ์ โทร. 0 1996 4974, 0 1823 9432

อำเภอโชคชัย
หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย 224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย และได้ทำสืบต่อกันมานับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม มีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มีเอกลักษณ์ของสีแบบดินเผาด่านเกวียนโดยเฉพาะ
ปราสาทพะโค ตั้งอยู่ที่ตำบลกระโทก จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ระยะทาง 29 กิโลเมตร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 2071 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ริมถนนทางด้านขวามือ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ก่อสร้างด้วยหินทรายสีขาว ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 3 หลัง แต่ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียง 2 หลัง มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปเกือกม้า ทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ได้พบชิ้นส่วนหน้าบันที่แสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรแบบบาปวนในราวพุทธศตวรรษที่16 ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สวนมะนาวด่านเกวียน ตั้งอยู่เลขที่ 135 หมู่ 3 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย การเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาใช้ทางหลวงหมายเลข 224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร (ก่อนถึงชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน) แยกขวาทางเข้าวัดป่าหิมพานต์ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร
สวนแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ปลูกมะนาวพันธุ์ด่านเกวียนซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการตั้งชื่อตามแหล่งที่พบ มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ทนทานต่อความแห้งแล้ง ผลใหญ่ มีน้ำมากทุกขนาดผล กลิ่นเปลือกไม่ฉุนจัด รสชาติกลมกล่อม แต่ละต้นมีผลดกมาก บางต้นมีมากถึง 5,000 ผล ถ้าปล่อยให้ผลเติบโตต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่แย่งอาหารกัน ผลก็จะเจริญเติบโตขึ้นจนคล้ายส้มเกลี้ยง ส้มซ่า แต่มีความเปรี้ยวตามแบบของมะนาวทุกอย่าง
สวนมะนาวด่านเกวียนเปิดให้ชมทุกวัน มีผลผลิตและกิ่งพันธุ์จำหน่าย หากต้องการจัดทัศนศึกษาชมงานสวนมะนาวด่านเกวียน สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายณรงค์ รัตนจันทร์ โทร.0 4421 2696 หรือ โทร. 0 1976 7768

อำเภอเลิงสาง
หาดชมตะวัน อยู่ในความรับผิดชอบของที่ทำการเขตจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่ 4 (ลำปลายมาศ) ซึ่งดูแลรักษาพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติทับลานด้านอำเภอเลิงสาง อำเภอครบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว พื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำได้รับการพัฒนาให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน และเป็นที่ประกอบอาชีพของชาวบ้านลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำและรับประทานอาหาร รวมทั้งยังชมทิวทัศน์อันสวยงาม หรือพักแค้มปิ้งได้ อาจเช่าเรือหางยาวล่องไปตามลำน้ำ เดินป่าชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น วังผีเสื้อ (มีเฉพาะในฤดูหนาว) ถ้ำพระ ถ้ำคอมมิวนิสต์ ที่มีตัวอักษรเขียนที่ผนังถ้ำว่า “พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย” และ ต้นตะเคียนทองยักษ์ ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณพันปี ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4444 8386 การเดินทาง จากนครราชสีมาไปอำเภอเลิงสาง ใช้ทางหลวงหมายเลข 224 ต่อด้วยทางหลวง 2071 และ 2119 ตามลำดับ ระยะทาง 89 กิโลเมตร เมื่อถึงสี่แยกอำเภอเลิงสางเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง 2317 อีกประมาณ 15 กิโลเมตร

อำเภอโนนสูง
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงกิโลเมตรที่ 44 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถประจำทางจากกรุงเทพฯหรือนครราชสีมา ให้นั่งรถสายที่จะไป ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย หรือ กาฬสินธุ์ ลงรถที่กม.44 แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างจากปากทางเข้าหมู่บ้าน
บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว หลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชม มีทั้งหมด 3 แห่ง คือ
หลุมขุดค้นที่ 1 มีโครงกระดูกฝังอยู่ในชั้นดินแต่ละสมัย แต่ละยุคมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป ยุค 3,000 ปี อยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก 5.5 เมตร โครงกระดูกจะหันหัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยุค 2,500 ปี หันหัวไปทางทิศตะวันออก ยุค 2,000 ปีหันหัวไปทางทิศใต้ แต่คติในการฝังจะคล้ายกันคือจะนำเครื่องประดับ เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริดและภาชนะของผู้ตายฝังร่วมไปด้วยกับผู้ตาย ในช่วงสามระยะแรกนี้เป็นภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง แบบลายเชือกทาบ ลักษณะหลักของภาชนะเป็นแบบคอแคบปากบาน แต่บางใบมีทรงสูงเหมือนคนโท บางชิ้นมีลักษณะเป็นทรงกลมสั้น ต่อมาในยุค 1,500ปี นั้นลักษณะภาชนะจะเปลี่ยนเป็นแบบพิมายดำ คือ มีสีดำ ผิวขัดมัน เนื้อหยาบบาง
หลุมขุดค้นที่ 2 ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่ 13-16 เรียกกันว่า “กู่ธารปราสาท” และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยเดียวกัน ศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้งครรภ์ และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท
หลุมขุดค้นที่ 3 พบโครงกระดูกในชั้นดินที่ 5.5 เมตร เป็นผู้หญิงทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่ากระดูกทุกโครงในหลุมนี้ไม่มีศีรษะ และ ภาชนะนั้นถูกทุบให้แตกก่อนที่จะนำลงไปฝังด้วยกัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะไปแห่ประจาน และได้พบส่วนกะโหลกอยู่รวมกันในอีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างจากจุดเดิมเพียง 500 เมตร ชาวบ้านปราสาทจะร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันที่ 21 เมษายน ของทุกปี
โฮมสเตย์บ้านปราสาท (แหล่งพักชุมชนบ้านปราสาท) ตำบลปราสาทประกอบด้วยหมู่บ้านปราสาทเหนือและบ้านประสาทใต้ซึ่งอยู่ติดกัน แต่ชุมชนที่ทำโฮมสเตย์ คือ บ้านปราสาทใต้ กิจกรรมนี้เริ่มจากการที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนำชาวต่างชาติไปพักค้างแรมเป็นครั้งคราวและทำเป็นกิจกรรมต่อเนื่องอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2539 จนปัจจุบันบ้านปราสาทเป็นตัวอย่างสำหรับหมู่บ้านอื่นทั่วประเทศ นิยมมาศึกษาดูงานเพื่อนำไปปรับใช้กับหมู่บ้านของตนเป็นการเพิ่มรายได้และพัฒนาความเป็นอยู่ในชุมชน ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การมาพักคือระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคมซึ่งอากาศกำลังเย็นสบาย
ชาวบ้านปราสาทก็เหมือนกับหมู่บ้านอีสานทั่วไปที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา โดยทำนากันเพียงปีละครั้ง ยามว่างชาวบ้านมักประกอบอาชีพทำหัตถกรรมเสริมรายได้ บ้างสานเสื่อกก สานหมวก หรือสานรองเท้า กระเป๋า บางบ้านเลี้ยงไหมทอผ้า บ้างทำเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสาย มีทั้งซออู้และซอด้วง บรรยากาศโดยรอบของหมู่บ้านจะเป็นทุ่งนา มีธารปราสาทที่เชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักสิทธิ์ไหลผ่านแบ่งเขตแดนบ้านปราสาทเหนือและใต้ เป็น 1 ในแม่น้ำ 9 สายที่นำไปใช้ในพิธีกรรมในราชสำนักแม่น้ำสายนี้จะไหลไปรวมกับแม่น้ำมูล ชาวบ้านได้อาศัยจับปลาจากแม่น้ำมาเป็นอาหาร
สนใจร่วมเรียนรู้ชีวิตชนบทติดต่อได้ที่ ผู้ใหญ่เทียม ละอองกลาง โทร.0 4436 7075 หรือ อาจารย์จรัญ จอมกลาง โทร. 0 4436 7062
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ผลิตภัณฑ์จากกกจันทบูรณ์บ้านปราสาทใต้ ม.7 ต.ธารปราสาท ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 45 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายนครราชสีมา – ขอนแก่น บริเวณหลัก กม.ที่ 44 แล้วแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่นักท่องเที่ยวสามารถไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านได้อย่างใกล้ชิดในลักษณะ Home stay นอกจากจะได้ชมโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุ 3,000 ปี สมาชิกกลุ่มแม่บ้านบ้านปราสาทใต้ ยังดำเนินกิจกรรมแปรรูปกกจันทบูรณ์ เป็นกระเป๋า แฟ้มเอกสาร กล่องกระดาษชำระ รองเท้า หมวก ฯลฯ สนใจเดินทางไปชมติดต่อ สำนักงานเกษตรอำเภอโนนสูง โทร. 0 4437 9269 หรือที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านธารปราสาทใต้ โทร. 0 4423 2735

Source : tourismthailand.org